ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

฿ 1,760.00

฿ 1,400.00

หยิบใส่รถเข็น

ISBN9789740219415
ปกหนังสือปกแข็ง
กระดาษ Ivory 100g 4 สีทั้งเล่ม
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

(ปกแข็ง) Pre - Order Box Set ประวัติจีนกรุงสยาม A History of the Thai-Chinese (จัดส่งฟรี)

ผู้เขียน : เจฟฟรี ซุน, พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร

แปลโดย : สมชาย จิว, พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร, กิตติพัฒน์ มณีใหญ่, นิรันดร นาคสุริยันต์

ใหม่ แนะนำ ฟรีค่าจัดส่ง

Pre - Order Box Set ประวัติจีนกรุงสยาม A History of the Thai-Chinese (จัดส่งฟรี)

ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม - 7 เมษายน 2568

เริ่มจัดส่ง 24 เมษายน 2568

Pre-order หนังสือเล่มนี้ พร้อมกับหนังสือเล่มอื่นๆ ในออเดอร์เดียวกันทางฝ่ายจัดส่งจะทำการจัดส่งพร้อมกันในครั้งเดียว


เล่มที่ 1 สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ทดลองอ่านได้ที่: https://bit.ly/3RgoxRq

เล่มที่ 2 ยุคล่าอาณานิคม

ทดลองอ่านได้ที่: https://bit.ly/4hevVaE

เล่มที่ 3 ยุคก่อร่างสร้างประเทศไทย

ทดลองอ่านได้ที่: https://bit.ly/4iAmTWE

คนไทยเชื้อสายจีน เจ๊ก ลูกจีน หลากนิยามที่ใช้เรียกผู้สืบเชื้อสายจากบรรพชนชาวจีน ซึ่งอพยพเข้ามาในไทยในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19

.

อย่างไรก็ดี คนไทยเชื้อสายจีนในปัจจุบัน ไม่ได้มีเฉพาะคนที่บรรพบุรุษโล้สำเภาเข้ามาตั้งถิ่นฐานและก่อร่างสร้างตัวในเมืองสยามช่วงรัชกาลที่ 5 เท่านั้น

.

อันที่จริง ประเทศไทยกับคนจีนมีสัมพันธ์โยงใยสืบเนื่องกันมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์ ระเบียบประเพณี ภาษา และอิทธิพลของศิลปกรรมจีน ความสำคัญของคนจีนโดดเด่นยิ่งขึ้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ลูกจีน รวบรวมบ้านเมืองที่กระจัดกระจายให้เป็นปึกแผ่น แล้วก่อตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมา แม้ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงปลายรัชสมัยจะทำให้กษัตริย์ไทยเชื้อสายจีนต้องตกจากบัลลังก์ คนจีนอื่นๆ ที่ไม่ได้โดดเด่นเท่าก็ไต่เต้าขึ้นมาเป็นเจ้าสัวผู้ร่ำรวยภายใต้ระบอบศักดินา

.

การมาถึงของเรือปืนตะวันตกก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีนแผ่นดินใหญ่ หลังเกิดสงครามฝิ่น คนจีนตอนใต้พากันอพยพมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเรือกลไฟที่บรรทุกผู้โดยสารได้เป็นจำนวนมาก ความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการปฏิรูปประเทศในรัชกาลที่ 5 ณ เวลานั้น คนจีนอพยพจำนวนมหาศาลข้ามน้ำข้ามทะเลมาหางานทำในสยามประเทศ สมประโยชน์กับนโยบายของกษัตริย์สยามที่ต้องการจะสร้างความเป็นสมัยใหม่ กระนั้นประชากรจีนอพยพที่เพิ่มมากขึ้น กอปรกับปัญหาต่างๆ ที่พ่วงติดมาเป็นเงาตามตัว ได้สร้างความกังวลใจให้แก่ทั้งรัฐบาลกษัตริย์และรัฐบาลคณะราษฎร เกิดเป็นความพยายามที่จะสร้างสำนึกจงรักภักดีให้เกิดแก่คนจีน ในยุคที่ชนชั้นนำพยายามจะสร้างรัฐชาติไทยภายใต้อุดมการณ์ชาตินิยม

.

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีชัยเหนือพรรคชาตินิยมจีน (ก๊กมินตั๋ง) รวบรวมประเทศที่แตกแยกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และปิดประตูจากโลกภายนอก คนจีนที่อพยพออกจากประเทศเมื่อครึ่งศตวรรษก่อนจึงหมดหนทางหวนคืนแผ่นดินเกิด ในเวลานี้ ชาวจีนโพ้นทะเลเริ่มลงหลักปักฐานแน่แล้ว และเป็นช่วงเดียวกับที่ชาวจีนบางส่วนเข้าไปสัมพันธ์ข้องเกี่ยวกับระบบราชการไทย ไม่ก็สร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นจากการเป็นแรงงานอิสระ จนกลายเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ และเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐไทยอย่างมิอาจมองข้ามได้