ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740219422
ปกหนังสือปกอ่อน
กระดาษIvory 80 g.
จำนวนหน้า272 หน้า
น้ำหนัก400.00 กรัม
กว้าง14.30 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา1.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่1 : 2568
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

ภารตะ-สยาม มูฯ ไทย ไสยฯ อินเดีย

ผู้เขียน : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง, ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ บรรณาธิการ

ใหม่ แนะนำ

ทดลองอ่านได้ที่: https://bit.ly/4kBum9G

รวมบทความว่าด้วยความเชื่อ “มูไทย ไสยอินเดีย” ที่ผสมผสานอยู่ในศาสนาไทย “พุทธ พราหมณ์ ผี” และเป็นที่ศรัทธาของสังคมวงกว้าง

ดูเหมือนว่า ปรากฏการณ์ “มูเตลู” จะกลายเป็นกระแสนิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นำไปสู่การตั้งคำถามต่อความศักดิ์สิทธิ์ พิธีกรรมดั้งเดิมในสังคมที่หวงแหนกีดกันเฉพาะคนบางกลุ่ม ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็โอบรับความเชื่อ พิธีกรรมใหม่ๆ ที่สอดรับกับวิถีชีวิตในยุคใหม่ แน่นอนย่อมนำสู่การโต้เถียง วิพากษ์วิจารณ์ ว่าที่จริงแล้ว เรื่องใดเป็นศาสนา เรื่องใดเป็นของงมงาย

หนังสือเล่มนี้ ไม่ร่วมวงไปเถียงเอาเป็นเอาตาย หรือชี้ขาดว่าแบบใดถูกแบบใดผิด แต่ชวนผู้อ่านถอยออกมามองปรากฏการณ์ “มูเตลู” อย่างรอบด้าน และแกะรอยที่มาของความเชื่อก่อนผสมผสานเป็น “มูไทย ไสยอินเดีย” ทั้งเรื่อง กรรม, โหราศาสตร์, พระตรีมูรติ, พระแม่ลักษมี ไปจนถึงครูกายกาย อาร์ตทอย

ความเข้าใจปรากฏการณ์ “มูเตลู” ไม่เพียงแค่เป็นเรื่องน่ารู้ แต่ยังช่วยให้เราเปิดใจโอบรับความเชื่อที่หลากหลายในสังคมได้ไม่ยากเย็น และไม่เผลอไผลตั้งตัวเป็นศาลศาสนาตัดสินความเชื่อใคร

สารบัญ

"มูฯ ไทย ไสยฯ อินเดีย" ในจักรวาลความคิด "ภารตะ-สยาม" ของคมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง โดย ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ

ภาคแรก ทะลวงมู ทะลุไสยฯ เข้าใจหลากมุม

1 การกลับมาของความสนใจ “ไสยศาสตร์” ในคนรุ่นใหม่

2 ไสยศาสตร์เป็นศาสนาของคนปัญญาอ่อน?

3 พุทธศาสน์ในไสยศาสตร์

4 “ศาสนาไทย” ในศาสนา “ผี พราหมณ์ พุทธ”

5 ร่างทรงแห่งรัฐ

6 “กรรม” ในทัศนะศาสนาฮินดู

7 โหราศาสตร์กับศาสนา

8 พลังของ “ม้าสายลม” และ ธงมนตร์ในพุทธวิถีทิเบต

9 พลังของ “กี” อันศักดิ์สิทธิ์

10 ความหวัง การมู และก้าวข้ามมู?

ภาคสอง ชวนส่องปรากฏการณ์ มูไทย ไสยฯอินเดีย

11 “โคโรนาเทวี” – เมื่อความกลัวกลายเป็นศรัทธา

12 ท้าวเวสสุวรรณ who are you?

13 ความเข้าใจเรื่อง “ตรีมูรติ”

14 “ทัตตาเตรยะ” พระตรีมูรติท้องถิ่นยอดนิยม

15 ความรัก สังคมไทย และพระตรีมูรติ (again and again)

16 ฉลองทีปาวลี: ทำความเข้าใจ “พระแม่ลักษมี” กันเถิด

17 ต้อนรับทีปาวลี: เรียนรู้พระแม่ลักษมีในวิถีพุทธ (1)

18 ต้อนรับทีปาวลี: เรียนรู้พระแม่ลักษมีในวิถีพุทธ (จบ)

19 พระแม่ลักษมี กำลัง “มา”

20 พระพุทธรูปผู้หญิงในความเชื่อชาวใต้

21 บวชพราหมณ์?

22 สานสัมพันธ์ “ศาลเจ้าที่”

23 ครูกายแก้ว

24 ผู้วิเศษเด็ก: เรื่องที่สังคมต้องระวังและไตร่ตรอง

25 แทรนด์การตลาดเทวรูปไทยและความไม่สนใจประติมานวิทยา

26 ความอ้วนของพระคเณศ ปัญหาของผู้ศรัทธาและศิลปิน?

27 “เทวรูป” กับ “อาร์ตทอย” ในพรมแดนที่พร่าเลือน

28 เทวาลัยเจ้าแม่กามาขยา: ที่แสวงบุญใหม่ของคนไทยสายมู

ภาคสุดท้าย บทระลึกถึง คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง

คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง: เส้นทางบรรจบกันของพหุนิยมทางศรัทธากับสัจนิยมทางปัญญา โดย พิพัฒน์ สุยะ

บทส่งท้าย: มรดกทางความคิดของพี่ตุล โดย กิตติศักดิ์ โถวสมบัติ