ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN978616412162101
ปกหนังสือปกแข็ง
น้ำหนัก730.00 กรัม
สำนักพิมพ์มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

พงศาวดารจีนฉบับภาษาไทย ลำดับที่ ๑๓ เรื่องเสาปัก

แนะนำ

เสาปัก เป็นนิยายพงศาวดารจีน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ใน ตำนานหนังสือสามก๊ก ว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้อำนวยการแปลเรื่อง เสาปัก เมื่อ จ.ศ. ๑๒๓๒ (พ.ศ. ๒๔๑๓) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นหนังสือ ๑๘ เล่มสมุดไทย

เสาปัก แปลจากต้นฉบับภาษาจีนเรื่อง หลัวทงเสาเปีย (罗通扫北,"หลัวทงผู้พิชิตดินแดนภาคเหนือ") นิยายอิงพงศาวดารสมัยราชวงศ์ชิง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการยกทัพปราบปรามแว่นแคว้นทางภาคเหนือของหลัวทงแม่ทัพคนสำคัญใน รัชสมัยพระเจ้าถังไท่จง (唐太宗: ครองราชย์พ.ศ. ๑๑๖๙-๑๑๙๒) กษัตริย์รัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์ถัง

กนกพร นุ่มทอง กล่าวว่า หลัวทงเสาเป่ย เป็นอีกชื่อหนึ่งของ ซัวถังเสี่ยวอิงสยงจ้วน (说唐小英雄传:"ตำนานวีรชนน้อยส้วยถัง")ซึ่งเป็นเนื้อหาครึ่งแรกของนิยายอิงพงศาวดารเรื่อง ซัวถังโฮ่วจ้วน(说唐后传;"ตำนานานล้วยถังภาคหลัง") เรื่อง ซัวถังโฮวจ้วน นี้แต่งขึ้นเป็นภาคต่อของเรื่อง ซัวถังเหยี่ยนอี้ฉวนจ้วน(说唐演义全传:"นิยายพงศาวดารราชวงศ์ถังฉบับสมบูรณ์") (ฉบับภาษาไทยเรียก ส้วยถัง) และได้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อพ.ศ. ๒๒๘๑ (ปีที่ ๒ ในรัชศกเฉียนหลง) โดยมีเยวียนหูอิ๋วโส่ว(鸳湖渔叟) เป็นผู้ตรวจชำระ เนื้อหาของ ซัวถังโฮ่วจ้วน แบ่งเป็น ๒ ส่วน ทำให้ต่อมามีผู้พิมพ์แยกกันเป็น ๒ เรื่อง เรื่องแรกชื่อ ซัวถังเสี่ยวอิงสยงจ้วน(เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หลัวทงเสาเปย ตรงกับเรื่อง เสาปักในฉบับภาษาไทย) กล่าวถึงเรื่องราวของแม่ทัพหลัวทง (ฉบับภาษาไทยใช้ "ฬ่อทง") ที่ไปปราบดินแดนทางเหนือ และเรื่องหลังชื่อ เซวียเหรินกุ้ยเจิงตง (ตรงกับเรื่อง ซิยินกุ้ย ในฉบับภาษาไทย) เป็นเรื่องราวของแม่ทัพเซวียเหรินกุ้ย (ฉบับภาษาไทยใช้ "ซิยินกุ้ย") ที่ไปปราบดินแดนทางตะวันออก

โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์เรื่อง เสาปัก ฉบับภาษาไทยครั้งแรกเป็นหนังสือเล่มเดียวจบ เมื่อ จ.ศ. ๑๒๔๓ (พ.ศ. ๒๔๒๔) ในรัชกาลที่ ๕ ต่อมาองค์การค้าของคุรุสภาพิมพ์เรื่อง เสาปัก เป็นหนังสือ ๑ เล่มไว้ในหนังสือชุดพงศาวดารจีนเมื่อพ.ศ. ๒๕๑๐ โดยมิได้ระบุว่าพิมพ์จากคันมบับใด เรื่องเริ่มด้วยข้อความระบุวัน เดือน ปีที่สมเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สั่งให้แปลเรื่อง เสาปักว่า "ณ วันจันทร์แรมแปดค่ำเดือนหกปีมะเส็งโทศกศักราช ๑๒๓๒ ฯพณฯ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินมีพระประสาทสั่งให้แปลราชพงศาวดารจีน เมื่อครั้งหลีสิขึ้นได้เป็นพระเจ้าไทจงฮ่องเต้ ครองราชสมบัติในแผ่นดินถัง ยกกองทัพไปตีเขตแดนฮวนข้างทิศเหนือเรียกว่าเสาปัก [...]"

จากนั้นกล่าวถึงเนื้อเรื่องว่า "พระเจ้าซุยเอียงเต้ ครองราชสมในแก่นกันซุย ขุนนางผู้ใหญ่ชื่อโอบุนฮวยกิบเป็นกบฏ กำจัดพระเจ้าซุยเอียงเต้เสียแล้วตั้งตัวขึ้นเป็นฮ่องเต้ เปลี่ยนนามแผ่นดินซุย เรียกว่าแผ่นดินเค้า หัวเมืองทั้งปวงก็กระด้างกระเดื่องแตกออกเป็นหลายก๊ก [...]" และจบด้วยข้อความว่า "หลีตี้ไทจือกับขุนนางทั้งปวงแจ้งข่าว ก็พากันออกไปรับเสด็จเชิญพระเจ้าไทจงฮ่องเต้เข้าในพระราชวัง [...] ตั้งแต่นั้นมาเมืองเซียงอานก็สิ้นเสี้ยนหนามมีความสุขสืบไป" ท้ายเรื่องมีข้อความระบุว่า "จบบริบูรณ์"

เนื้อเรื่อง เสาปัก เล่าเหตุการณ์ความไม่สงบภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์สุยต่อเนื่องมาถึงต้นราชวงศ์ถัง บ้านเมืองขาดเสถียรภาพ แว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนภาคเหนือช่วงชิงอำนาจกัน ต่อมาพระเจ้าไทจงฮ่องเต้ (หลีสิปี๋น) ยกทัพไปปราบเหล่ากบฏที่เมืองปักฮวนซึ่งเป็นดินแดนภาคเหนือ สามารถหักด่านรายทางได้จำนวนมาก แต่ฝ่ายศัตรูทำอุบายลวงทัพของพระเจ้าไทจงฮ่องเต้เข้าไปอยู่ในเมืองมกเอียงเสียแล้วล้อมไว้ ฬ่อทงผู้ชำนาญเพลงอาวุธได้รับแต่งตั้งเป็นแม่ทัพจากเมืองเซียงอานไปช่วยปราบเหล่ากบฎได้สำเร็จ บ้านเมืองจึงเป็นสุขสืบมา

นิยายพงศาวดารจีนเรื่อง เสาปัก นอกจากนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์การสงครามและกลศึกของจีนสมัยโบราณแล้ว ยังมุ่งแสดงให้เห็นความสำคัญของการรักษาคำสัตย์บุญคุณ ความแค้น พระราชอำนาจและธรรมะของกษัตริย์ผู้ปกครองบ้านเมือง ตลอดจนหน้าที่ของขุนนางผู้เป็นข้าแผ่นดินด้วย