การสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูประบบราชการและจัดตั้งกระทรวงต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชหารแผ่นดิน โดยมีสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นกำลังสำคัญในการวางรากฐานระบบราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบราชการในกระทรวงมหาดไทย
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เน้นบทบาทของข้าราชการมหาดไทยในฐานะ “นาย/ผู้ปกครอง” พยายามให้ข้าราชการมีศักยภาพ ความสามารถ คุณสมบัติอันดี และพระเดชพระคุณในการปกครองราษฎร บทบาทแบบ นาย/ผู้ปกครอง เช่นนี้ดำรงอยู่เรื่อยมาจนกระทั่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 การตื่นตัวและเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนและนิสิตนักศึกษา ทำให้ข้าราชการมหาดไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงบทบาทตัวเองเป็น “ผู้รับใช้ “ ประชาชน เพื่อสร้างความยอมรับจากผู้คนในสังคม ถึงกระนั้น บทบาทผู้รับดังกล่าวก็ดูจะไม่เป็นสิ่งน่าพอใจของข้าราชการบางคน
บทบาทผู้รับใช้ประชาชนนั้นดำรงอยู่ไม่นาน หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 ความตื่นกลัวต่อปัญหาภัยคอมมิวนิสม์และการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้ข้าราชการมหาดไทยเริ่มเปลี่ยนบทบาทเป็น “ผู้นำในการส้รางความมั่นคงและการพัฒนา” โดยอาศัยความสามารถและประสบการณ์ส่วนตัว ในการเข้าไปมีบทบาทกับการพัฒนาและดำเนินงานตามท้องถิ่น
เมื่อมาถึงทศวรรษ 2530 พรบ. บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้จำกัดและลดอำนาจของข้าราชการมหาดไทย ประกอบกับการขยายตัวของโครงการในพระราชดำริ บทบาทภาคประชาชน และ NGO ได้แย่งยึดบทบาทผู้พัฒนาและดำเนินโครงการต่างๆ ไปจากข้าราชการมหาดไทย ทำให้ข้าราชการมหาดไทยต้องปรับเปลี่ยนบทบาทตนเองมาเป็น “ผู้ประสานงาน” เพื่อรักษาสถานภาพและบทบาทของตนในพื้นที่เอาไว้
สารบัญ
คำนิยม “จินตนาการร่วม” ของระบบราชการไทย โดย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
คำนำผู้เขียน
1 การเปลี่่ยนแปลงทางความคิดและการปฏิบัติการของข้าราชการนักปกครอง
บทนำ
การเปลี่่ยนแปลงความคิดและการปฏิบัติการภายใต้การเปลี่ยน “จินตนาการ”
2 “นายและผู้ปกครอง”: ข้าราชการนักปกครองก่อน 14 ตุุลาฯ
ข้าราชการนักปกครองก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ข้าราชการนักปกครองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ข้าราชการนักปกครองในช่วง พ.ศ. 2500-2516
จินตนาการการปกครองของข้าราชการนักปกครองก่อน 14 ตุุลาฯ
3 “ผู้รับใช้และบริการประชาชน”: ข้าราชการนักปกครองหลัง 14 ตุุลาฯ
14 ตุุลาฯ กับการเปลี่ยนความหมายของบทาทข้าราชการนักปกครอง
มโนภาพ “คอมมิวนิสต์” ในฐานะศัตรููร้ายของชาติ
การสิ้้นสุุดของการเน้นบทบาทข้าราชการนักปกครองในฐานะ “ผู้รับใช้และบริการประชาชน”
4 “ผู้นำในการสร้างความมั่่นคงและการพัฒนา”: ข้าราชการนักปกครองภายใต้ประชาธิปไตยครึ่งใบ
ความเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาภายใต้รัฐบาลพลเอก เปรม ติณสููลานท์
ข้าราชการนักปกครองกับบทบาทผู้นำในการสร้างความมั่นคงและการพัฒนา
การเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับชุมชนและการขยายตัวของพระราชอำนาจนำ
5 “ผู้ประสานงาน”: ข้าราชการนักปกครองภายใต้พระราชอำนาจนำและการขยายตัวของภาคประชาชน
การปรับโครงสร้างหน่วยงานของรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยราชการ
การขยายตัวของการพัฒนาตามแนวทางของราชสำนัก
การเติบโตของภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน
ข้าราชการนักปกครองกับความเปลี่ยนแปลงในช่วงทศวรรษ 2530
6 บทสรุป
บรรณานุกรม
ประวัติผู้เขียน