ทดลองอ่าน : https://bit.ly/47Ao7Nf
“ความแท้” ของ “สายเลือดไทย” เป็นสิ่งที่ถูกตั้งคำถามมานาน
“ความไม่แท้” ใน “สมมติฐาน” ยังคงรอการพิสูจน์…
"ดีเอ็นเอไม่ไทย บรรพชนไทยไม่แท้" ผลงานของวิภู กุตะนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์เชิงมานุษยวิทยา จะเปิดเผยข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับการศึกษาดีเอ็นเอของคนไทยสู่สายตาผู้อ่าน โดยการสืบหาร่องรอยการอพยพเคลื่อนย้ายของคนโบราณที่มาพร้อมกับภาษาและวัฒนธรรม รวมถึงสืบสาววิวัฒนาการของบรรพชนไทยนับจากหลายหมื่นปีก่อน
บรรพชนไทยเป็นใครมาจากไหน
คนไทยสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ใด
คำถามเหล่านี้พิสูจน์ได้ด้วย “ดีเอ็นเอ”
สารบัญ
คำนำสำนักพิมพ์
คำนำผู้เขียน
1 การถ่ายทอดพันธุกรรมระดับพื้นฐานและวิธีการศึกษาดีเอ็นเอเพื่อหาบรรพชน
ดีเอ็นเอคืออะไร
การหาข้อมูลดีเอ็นเอ
การวิเคราะห์ข้อมูลดีเอ็นเอ
2 ประวัติศาสตร์การอพยพเคลื่อนย้ายของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความหลากหลายของตระกูลภาษา
จากการอพยพสู่การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม
สมมติฐาน “คนไทยมาจากไหน”
3 ดีเอ็นเอของชาวมานิ คนดั้งเดิมเมื่อหลายหมื่นปีก่อน
ชาวมานิคือใคร
การอพยพเข้าสู่ไทยของชาวมลาบรี
4 ดีเอ็นเอของคนภาคเหนือ
หลักฐานทางโบราณคดีบนพื้นที่สูงและที่ราบ
บรรพบุรุษร่วมของประชากรไท-กะได
กลุ่มชนดั้งเดิม “ละว้า” และตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก
กลุ่มชาวเขาที่พูดภาษาจีน-ทิเบต
ม้ง-เมี่ยนกับสมมติฐานการอพยพ
5 ดีเอ็นเอของคนภาคอีสาน
ชาวลาวอีสานเกิดจากการผสมผสาน
คนดั้งเดิมมอญ-เขมรกับชาติพันธุ์ในแอ่งโคราช
ชาติพันธุ์อพยพจากเวียดนามและลาวสู่แอ่งสกลนคร
6 ดีเอ็นเอของคนภาคกลาง
ร่องรอยภาษาและวัฒนธรรมจากหลักฐานทางโบราณคดี
ดีเอ็นเออินเดียกับความซับซ้อนของคนไทย-มอญ
ลาวโซ่ง ลาวพวน และไทยวน กลุ่มอพยพในช่วงต้นรัตนโกสินทร์
7 ดีเอ็นเอของคนภาคใต้
สังเขปประวัติศาสตร์อาณาจักรโบราณบนคาบสมุทรมลายู
การผสมผสานทางพันธุกรรมของคนใต้และคนมลายู
ข้อมูลของชาวเลกับสมมติฐานเรื่องบรรพบุรุษ
8 ดีเอ็นเอจากกระดูกโบราณ เครื่องจักรย้อนเวลาเพื่อไปศึกษาคนโบราณ
คุณสมบัติของดีเอ็นเอโบราณ
สืบสาววิวัฒนาการมนุษย์ด้วย “พันธุศาสตร์โบราณคดี”
การศึกษาดีเอ็นเอโบราณในประเทศไทย
9 ความเชื่อมโยงของอดีต ปัจจุบัน และอนาคตจากดีเอ็นเอ
บรรณานุกรม