พงศาวดารจีนเรื่อง "ไซจิ้น"
ไซจิ้นเป็นนิยายพงศาวดารจีน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขณะดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม บัญชาให้หลวงพิชัยวารีแปลจากต้นฉบับภาษาจีน เมื่อ จ.ศ. ๑๒๒๙ (พ.ศ. ๒๔๑๐) ในสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ใน ตำนานหนังสือสามก๊ก ว่าเรื่อง ไซจิ้น มี ๓๕ เล่มสมุดไทย พิมพ์ครั้งแรกเป็นหนังสือ ๒ เล่มโดยโรงพิมพ์หมอบรัดเลเมื่อพ.ศ. ๒๔๑๖ (ในรัชกาลที่ 5)
กนกพร นุ่มทอง ได้สอบทานพงศาวดารจีนเรื่อง ไซจิ้น ฉบับภาษาไทยกับต้นฉบับ ภาษาจีน ได้ข้อสรุปว่า ไซจิ้น แปลและดัดแปลงจากเรื่อง ซีจิ้นเหยี่ยนอี้ ("นิยายพงศาวดารเรื่องราชวงศ์จิ้นตะวันตก") ของหยังเอ่อร์เจิง (เกิดราวค.ศ.[พ.ศ. ๒๑๑๘] ไม่ปรากฏปีที่สิ้นชีวิต) นักประพันธ์สมัยราชวงศ์หมิง ต้นฉบับภาษาจีนเรื่องซีจิ้นเหยื่อนตี้ มี ๔ บรรพ ๑๑๖ ตอน มักพิมพ์คู่กับ ตงจิ้นเหยี่ยนอี้ ("นิยายพงศาวดารเรื่องราชวงศ์จิ้นตะวันออก") ของนักประพันธ์คนเดียวกัน ส่วนเรื่อง ไซจิ้น ฉบับภาษาไทยแปลต่อเนื่องกันโดยมิได้แบ่งบรรพแบ่งตอนเหมือนในต้นฉบับภาษาจีน
ในพ.ศ. ๒๔๗๙ โรงพิมพ์พานิชศุภผลพิมพ์เรื่อง ไซจิ้น ฉบับภาษาไทยเป็นหนังสือ ๒ เล่ม ที่หน้าปกใช้ชื่อเรื่องว่า พงษาวดารจีนเรื่องไซรจิ้น ต่อมาสำนักพิมพ์ต่างๆ นำเรื่องไซจิ้น มาพิมพ์เผยแพร่อีกหลายครั้ง เช่น สำนักพิมพ์ก้าวหน้า (พ.ศ. ๒๕๐๖) องค์การค้าของคุรุสภา (พ.ศ. ๒๕๐๓) สำนักพิมพ์โฆษิต (พ.ศ. ๒๕๕๑) สำนักพิมพ์ พี.เอส.กรุ๊ป (ไม่ปรากฏปีพิมพ์)
องค์การค้าของคุรุสภาพิมพ์เรื่อง ไซจิ้ม เป็นหนังสือ ๔ เล่มไว้ในหนังสือขุดพงศาวดารจีนเมื่อพ.ศ. ๒๕๐๗ โดยมิได้ระบุว่าพิมพ์จากกับใด เนื้อเรื่องขึ้นด้วยการระบุวัน เดือน ปี และที่มาของการแปลว่า "ณ วันศุกร์ เดือนสาม แรมหกค่ำ จุลศักราชพันสองร้อยยี่สิบเก้า ปีเถาะ นพศก พณหัวเจ้าท่านที่สมุห์พระกระลาโหม มีบัญชาพิชัยวารี แปลหนังสือเรื่องราชพงศาวดารจีนตอนหนึ่งชื่อไซจิ้นออกเป็นคำไทย […]” และจบเรื่องด้วยข้อความว่า "แผ่นดินเมืองจีนครั้งนั้นก็แตกออกเป็นสามก๊กขึ้น คือพวกเมืองเสฉวนซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่ เรียกว่าเมืองเซงโต๋นั้นก๊กหนึ่ง แผ่นดินได้ฮั่นก๊กหนึ่ง แผ่นดินตั้งจิ้นก๊กหนึ่ง ความจะมีพิสดารต่อไปในเรื่องตั้งจิ้น"
เนื้อเรื่อง ไซจิ๋น (ราชวงค์จิ้นตะวันตก) เป็นเหตุการณ์ตอนต่อจากเรื่อง สามก๊กกล่าวถึงสุมาเอี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แผ่นดินงุ่ย (ในสามก๊ก เรียกว่า วุยก๊ก) ทรงนามว่าพระเจ้าซีโจบู๊ฮ่องเดี จากนั้นสถาปมาราชวงศ์จิ้น แล้วปราบปรามเมืองต่างๆ รวมเป็นก๊กเดียว ในเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญ เช่น การสร้างบ้านเมือง การยกเลิกการฝึกทหาร การดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อความสงบร่มเย็นของแผ่นดิน ฯลฯ ท้ายเรื่องกล่าวถึงพระเจ้าตงจงหงวนฮ่องเต้เลือกพื้นที่ทางทิศตะวันออกเพื่อสร้างเมืองหลวงใหม่ แล้วเปลี่ยนนามแผ่นดินเป็นตั้งจิ้น (ราชวงศ์จิ้นตะวันออก) นอกจากนั้นยังให้สร้างตึกเรียนและให้หาซินแสมาบอกหนังสือ ด้วยเห็นว่าการศึกษาจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคนและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป