“ความตาย” และ “ความหมายของชีวิต” สัมพันธ์กับการสร้างแบบแผนอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่ผู้คนปรารถนาในแต่ละยุคสมัย เรื่องราวของความหวังและความใฝ่ฝันซึ่งถูกถ่ายทอดออกมาหลังชีวิตสิ้นสุดลงนั้น จึงเป็นการวางชีวิตของผู้วายชนม์ไว้บนระบอบเกียรติยศที่สังคมได้ยอมรับกันโดยดุษณี
ชาติเมื่อวายชนม์ อุดมการณ์รัฐไทยในอนุสรณ์ฯ ผู้ดับสูญ ไม่เพียงฉายภาพให้เห็นอารมณ์ความรู้สึกของคนภาคใต้ในช่วงทศวรรษ 2460-2550 เท่านั้น แต่ยังชี้ให้เห็นอุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ที่นำมาสู่ความรู้สึก “หลอมใต้รวมไทย” ซึ่งถูกสถาปนาไว้เป็นเกียรติยศต่อ “คนตาย” ในอนุสรณ์ฯ ที่สร้างโดย “คนเป็น”
สารบัญ
คำนำเสนอ: ความตายและความหมายของชีวิต
คำนำผู้เขียน
1 กำเนิดหนังสือแจกงานศพ จากรัฐกรุงเทพฯ สู่อาณานิคมทางใต้
ว่าด้วยความสำคัญของหนังแจกงานศพ
ภูมิทัศน์งานศึกษาหนังสือแจกงานศพและสังคมท้องถิ่นภาคใต้
2 แรกเริ่มอารมณ์ความรู้สึกและความใฝ่ฝันแบบรัฐชาติกับสำนักของสังคมท้องถิ่นภาคใต้
"ไม่รบนาย(ไม่)หายจน": หัวเมืองทางใต้ช่วงเปลี่ยนผ่านและการปรับตัวกับรัฐราชการสมัยใหม่
ความเป็นท้องถิ่นที่ถูกสลายและการแทนที่ของสำนึกร่วมแห่งรัฐ
เมื่อ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" เข้าสู่ชีวประวัติของผู้วายชนม์
ความใฝ่ฝันของสังคมท้องถิ่นในบรรยากาศแรกมีรัฐธรรมนูญและการปกครองของรัฐประชาธิปไตย
ความรู้สึกรัฐราชสำนักกรุงเทพฯ ในสำนึกของอาณานิคมหัวเมืองทางใต้
3 คนล้มหาย(แต่ชาติไม่)ตายจาก การสร้าง "ชีวิตคนใต้" ยุคสงครามเย็น
อุดมการณ์ของรัฐและกรอบคิด "ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย" ในสังคมท้องถิ่น
การสร้างชีวิตคนใต้ที่เชื่อมต่อกับชาติและความเป็นไทย
อารมณ์ "ควร" รู้สึกต่อชาติอันสูงส่งและความศรัทธาต่อศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์
ความรู้สึกของ "ชีวิตคนใต้" ใน "ชาติ-ไทย"
4 หลอมใต้รวมไทย ความผูกพันทางอารมณ์และความรู้สึกใหม่ต่อท้องถิ่นของชาติไทย
"ถนนทุกสายมุ่งสู่เมือง": ความเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากและกำเนิดอัตลักษณ์ความเป็นคนใต้
"พื้นเพความเป็นเด็กบ้านนอกที่ได้ดิบได้ดี" และ "สำนึกภาคภูมิใจในท้องถิ่น"
การสถาปนาความรู้สึกใหม่ของท้องถิ่นใต้ในประวัติศาสตร์ชาติ
ความรู้สึกร่วมใหม่ "หลอมใต้รวมไทย"
5 "คนเป็น" ในพื้นที่ "คนตาย" การแสดงออกซึ่งเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และการเข้าสู่พระบรมโพธิสมภาร
ความเปลี่ยนแปลงในชีวิตและการเคลื่อนเปลี่ยนของระบบความสัมพันธ์ทางสังคมในท้องถิ่นใต้
มรณกรรมของผู้วายชนม์: ตำแหน่งแห่งที่ "คนตาย" ที่กำหนดโดย "คนเป็น"
คุณค่าความสัมพันธ์กับพระราชอำนาจนำของสถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านระบบเครื่องราชอิสริยาภรณ์
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
6 อนุสรณ์ทรงจำแห่ง "ชาติ" ของผู้ดับสูญอันเป็นนิรันดร์
บรรณานุกรม