ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

฿ 350.00

฿ 298.00

สินค้าหมด

ISBN9786165620512
ปกหนังสือปกอ่อน
จำนวนหน้า296 หน้า
น้ำหนัก405.00 กรัม
กว้าง13.40 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา1.54 ซม.
สำนักพิมพ์สมมติ

ว่าด้วยทุนนิยมมหาวิทยาลัยในสภาวะเสรีนิยมใหม่15%

ผู้เขียน : ธเนศ วงศ์ยานนาวา


..ปัจจุบันนี้ ไม่ใช่แค่อายุเป็นเพียงตัวเลข แต่ชีวิตคุณก็เป็นเพียงตัวเลข... ที่ ธเนศ วงศ์ยานนาวา เคยกล่าวเอาไว้ไม่ใช่เรื่องเกินจริง เพราะหลายสิ่งหลายอย่างรอบตัวคุณล้วนถูกตีค่าเป็นตัวเงินและตัวเลขดรรชนีชี้วัด หนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปพบกับความหมายของคำว่า 'ทุนนิยมมหาวิทยาลัย' รวมถึง 'เสรีนิยมใหม่' ซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตคนเรา

เสรีนิยมใหม่กลายเป็นวิถีชีวิตที่ใช้หลักเศรษฐกิจมาประเมิน และหลักคิดที่รัฐนำมาใช้ทั้ง 'การบริหารภาครัฐ' เช่น การกระจายอำนาจหรือการลดบทบาทของสหภาพแรงงาน ธเนศยังพูดถึง 'การบริการการศึกษาในมหาวิทยาลัย' ที่มหาวิทยาลัยกลายเป็นกลไกของทุนนิยม นอกจากนี้ยังส่งผลต่อมุมมองที่มีต่อ 'ผู้ประกอบการ' ในด้านผลิตภัณฑ์ศิลปะและนวัตกรรมอีกด้วย

ความตื่นเต้นดีใจไปกับพลังของเสรีนิยมใหม่ปรากฏให้เห็นในกรอบคิดโลกาภิวัตน์ (globalization) อีกทั้งดำเนินควบคู่ไปกับอุดมการณ์ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (growth) ที่ได้กลายมาเป็นความหวังสำคัญของชีวิตที่มั่งคั่ง โดยที่การกระจายรายได้ (distribution) และการลดความไม่เท่าเทียมกัน (inequality) ไม่ได้มีความสำคัญอีกต่อไป

//ไขหลากหลายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคุณ//

- สถาบันการศึกษารับใช้ 'ตลาด' หรือ 'ประโยชน์สาธารณะ'
- ชนชั้นมีผลกับ 'อนาคต' หรือไม่ และเกี่ยวกับ 'การศึกษา' อย่างไร
- อะไรทำให้เราต้องมีเป้าหมายในชีวิต อย่างเช่น 'โตขึ้นอยากเป็นอะไร'
- เพราะอะไรถึงต้องผลิตงานวิชาการเยอะแยะ มันเกี่ยวข้องกับรายได้การสนับสนุนทุนวิจัยและอันดับของมหาวิทยาลัยอย่างไรบ้าง
- ทำไมรัฐต้องผันเงินเข้าธุรกิจเอกชน -- ศึกษากรณีของชิลีและประเทศในแถบลาตินอเมริกาที่เป็นต้นแบบทดลองสำคัญของเสรีนิยมใหม่

...เป้าหมายของสถาบันการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงจากการผลิตพลเมือง (citizen) มาสู่การสร้างมนุษย์นวัตกรรมทางเศรษฐกิจ (innovative economic man) นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการขยายตัวของเสรีนิยมใหม่ ระบบนวัตกรรมแห่งชาติกลายเป็นโครงการสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ประเทศร่ำรวย พร้อมกันนั้นกรอบความคิดเรื่องระบบเศรษฐกิจบนฐานความรู้ (knowledge-based economy) ก็เป็นอีกต้นแบบที่สำคัญ ระบบเศรษฐกิจบนฐานความรู้แสดงบทบาทของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ...