ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

฿ 365.00

฿ 292.00

สินค้าหมด

ISBN9789740218593
ปกหนังสืออ่อน (แจ๊กเก็ต มีปีกปก)
กระดาษIvory
จำนวนหน้า296 หน้า
น้ำหนัก375.00 กรัม
กว้าง14.30 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา1.50 ซม.
พิมพ์ครั้งที่1 : กันยายน 2566
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

สยามโมเดิร์นเกิร์ล

ผู้เขียน : ภาวิณี บุนนาค

ใหม่ ขายดี หมดสต๊อก

พื้นที่ (ไม่)อยู่เหย้า (ไม่)เฝ้าเรือน ตัวตน และความศิวิไลซ์ของผู้หญิงในประวัติศาสตร์วิชาชีพพยาบาล

สำรวจภาวะสมัยใหม่ของผู้หญิงไทยในยุค “ออกจากเหย้า” สู่พื้นที่สาธารณะ ผ่านการศึกษาประวัติศาสตร์ชีวิตของนางพยาบาลและนางผดุงครรภ์ “โมเดิร์นเกิร์ล” ยุคแรกที่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาแผนตะวันตกและออกสู่โลกกว้างผ่านวิชาชีพ

ท่ามกลางสภาพการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา สยามค่อยๆ พัฒนาประเทศสู่ความเป็นสมัยใหม่แบบตะวันตกเพื่อแสดงออกถึงความทันสมัยของราชสำนักสยาม และลบข้อท้าทายเรื่อง “ความไม่ศิวิไลซ์” ทั้งในแง่เทคโนโลยี การศึกษา การขยายตัวของเศรษฐกิจแบบเงินตรา รวมไปถึงการพัฒนาระบบสาธารณสุข

ด้วยเงื่อนไขที่สถานภาพของผู้หญิงกลายมาเป็นมาตรวัดระดับความก้าวหน้าหรือระดับความศิวิไลซ์อีกอย่างหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่านางผดุงครรภ์และนางพยาบาลถือเป็นวิชาชีพแรกที่ทำให้ผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกสารธณะอย่างเป็นทางการ สยามโมเดิร์นเกิร์ล จึงมุ่งการศึกษาไปที่ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2439 อันเป็นปีที่มีการจัดตั้งโรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์และการพยาบาลไข้ ซึ่งถือเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย จนถึง พ.ศ. 2478 เพื่อศึกษาเรื่องราวของ “สาวสมัยใหม่” ใน “สยามใหม่” ซึ่งซ้อนทับอยู่ภายใต้เบื้องหลังประวัติศาสตร์ของนางพยาบาลและนางผดุงครรภ์ในสยาม



สารบัญ a7b6fe77fc-sarbay.pdf






รูปอื่นๆ