ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740216933
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกรีนรีด
จำนวนหน้า320 หน้า
น้ำหนัก380.00 กรัม
กว้าง14.50 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา1.50 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 1 : กุมภาพันธ์ 2563
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

สยาม เยนเติลแมน

ผู้เขียน : สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ

ใหม่

“หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นมาเพื่อหาคำตอบของคำถามที่ว่า “สุภาพบุรุษ” จากพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ “สุภาพบุรุษ” จากวรรณกรรมของศรีบูรพานั้นมีความแตกต่างกันหรือไม่ และมีการประกอบสร้าง การนำเสนออย่างไร รวมทั้งตอบคำถามที่ว่าความเป็นชายแบบสุภาพบุรุษมีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของไทยด้วยหรือไม่ ผ่านการวิเคราะห์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมของศรีบูรพา ซึ่งเปรียบเสมือนภาพแทน (representation) ของสังคมไทยในช่วงเวลานั้น...”

บางส่วนจากบทนำ


งานศึกษาเปรียบเทียบคติ “สุภาพบุรุษ” ในสังคมไทย ที่ยึดโยงอยู่กับการ “สร้างชาย” การ “รับรองสถานะทางชนชั้น” และการ “สร้างชาติ” ซึ่งปรากฏผ่านพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และวรรณกรรมของกุหลาบ สายประดิษฐ์ อันจะทำให้เราเข้าใจความเป็นชาย กลไกทางสังคมและประวัติศาสตร์ที่มีส่วนทำให้ความเป็นชายในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเข้าใจกระแสพัฒนาการของความเป็นชายที่ได้รับผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม และตระหนักถึงอำนาจของการต่อรอง การสร้างความเป็นชายต่อการสร้างชาติศิวิไลซ์ในยุคสมัยใหม่



สารบัญ

๑ ทำไมจึงต้องศึกษา “สุภาพบุรุษ”
๒ กว่าจะมาเป็น “สุภาพบุรุษ”

♦ ที่มาของ “สุภาพบุรุษ”
♦ ความเป็นชายแบบ “สุภาพบุรุษ” ในคติตะวันตก

๓ จากชายยุค “โบราณนานมา”สู่ชายยุค “สุภาพบุรุษ”
♦ ความเป็นชายในสยาม ก่อนการเข้ามาของ “สุภาพบุรุษ”
♦ การเดินทางเข้ามาของ “สุภาพบุรุษ” จากตะวันตกสู่สยาม

๔ “สุภาพบุรุษ” กับความเป็นชาย
♦ “สุภาพบุรุษ” ในพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
♦ “สุภาพบุรุษ” ในทัศนะศรีบูรพา : การกระทำคือสิ่งที่กำหนดความเป็นสุภาพบุรุษ

๕ “สุภาพบุรุษ” กับความเป็นชนชั้น
♦ “สุภาพบุรุษ” คือ “ผู้ (มีชาติกำเนิด) ดี” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
♦ “สุภาพบุรุษ” ในความหมาย “ผู้ (มีความประพฤติ) ดี” ในทัศนะศรีบูรพา

๖ “สุภาพบุรุษ” กับความเป็นชาติ
♦ นโยบายการสร้างชาติ สร้างชาย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
♦ การปลูกฝังให้สุภาพบุรุษสร้างพลเมืองที่ดีให้แก่ชาติ เพื่อชาติที่เข้มแข็ง

ความหมายของ “ชาติ” ในทัศนะศรีบูรพา
๗ หลักในการเป็น “สุภาพบุรุษ”
♦ หลักในการเป็น “สุภาพบุรุษ” ในพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
♦ หลักในการเป็น “สุภาพบุรุษ” ในวรรณกรรมศรีบูรพา

๘ ส่งท้ายความเป็นชายแบบ “สุภาพบุรุษ”
♦ “สุภาพบุรุษ” ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๖ : การให้ความสำคัญต่อสุภาพบุรุษชนชั้นสูง สุภาพบุรุษนักรบ และสุภาพบุรุษกับความเป็นชาติ
♦ “สุภาพบุรุษ” ในวรรณกรรมศรีบูรพา : การเป็นสุภาพบุรุษมาจากการกระทำ ไม่ได้วัดจากชนชั้น