ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN978-974-02-0871-6
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกรีนรีด
จำนวนหน้า320 หน้า
น้ำหนัก490.00 กรัม
กว้าง14.50 ซม.
สูง21.50 ซม.
หนา1.70 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 12 : สำนักพิมพ์มติชน ตุลาคม 2559
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

ใต้เบื้องพระยุคลบาท พ.12

ผู้เขียน : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

ใหม่

รวมบทความเรียบเรียงจากคำบรรยายของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ในวาระต่างๆ เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเผยแพร่ให้พสกนิกรชาวไทยได้รับรู้เรื่องราวขององค์พระประมุข ซึ่งได้ทรงทำประโยชน์อนกอนันต์ให้กับพวกเราและแผ่นดินไทย

รวมบทความเรียบเรียงจากคำบรรยายของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ในวาระต่างๆ เกี่ยวกับพระบาทสมเด็ขพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเผยแพร่ให้พสกนิกรชาวไทยได้รับรู้เรื่องราวขององค์พระประมุข ซึ่งได้ทรงทำประโยชน์อเนกอนันต์ให้กับพวกเราและแผ่นดินไทย ดร.สุมธ ตันติเวชกุล เป็นหนึ่งในข้าราชบริพารที่ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปในที่หลายแห่งทั่วทุกภาคอย่างใกล้ชิด ได้รับพระมหากรุณาธิคุณและได้พบเห็นสิ่งต่างๆ เมื่อเวลาพระองค์ทรงงาน ทรงมีพระราชปฎิสันถารกับราษฎรอย่างเป็นกันเองและไม่ถือพระองค์ ถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านั้นออกมาใหนรูปของปาฐกถา คำบรรยาย บทความอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา เรื่องราวอันชวนติดตามเหล่านี้ นอกจากทำให้ผู้อ่านทุกระดับ ทุกเพศ ทุกวัยได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการช่วยเหลือราษฎรจำนวนมากแล้ว ยังจะได้เรียนรู้ถึงวิธีคิดและวิธีทางงานของพระองค์อย่างลึกซึ้งอีกด้วย พระราชกระแสในโอกาสต่างๆ ที่ดร.สุเมธได้ถ่ายทอดออกมาล้วนเป็นแบบอย่างที่ควรแก่การนำไปเป็นแนวทางปฎิบัติและดำเนินชีวิตของเราพสกนิกรทุกคน อาทิ พระกระแสที่ว่า "ความร่าเริงและรื่นเริง ความคึกคักและครึกครึ้นนั้นเป็นปัจจัยของการทำงานที่มีประสิทธิภาพ" เป็นต้นไม่เพียงแต่สาระความรู้มากมาย ยังให้ความเพลิดเพลิน อันเนื่องมาแต่ "พระอารมณ์ขัน" ของพระองค์ที่ผู้ถ่ายทอดเล่าจากบันทึกความทรงจำอีกด้วย ,"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังต้องเหนื่อยต้องลำบากทุกวันนี้ เพราะว่าประชาชนยังยากจนอยู่ เมื่อประชาชนยากจนจนแล้ว อิสรภาพเขาจึงไม่มี และเมื่อเขาไม่มีอิสรภาพ เขาก็เป็นประชาธิปไตยไม่ได้" "เวลาเข้าไปทำงาน อย่านึกว่าเราเป็นครู ให้นึกว่าชาวบ้านเป็นครู ในเบื้องต้นนั้นเราจะต้องเรียนรู้จากเขาเสียก่อน ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมต่างๆและเราเอาความรู้ของเราเป็นส่วนประกอบ เป็นส่วนแนะเท่านั้นเอง"พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นานามรรควิธีทั้งหลายนี้ ล้วนเกิดจากประราชประสงค์สูงสุดในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงคลายร้อนผ่อนลำเค็ญ ให้ร่มเย็นเป็นสุขทั่วหน้ากันนั่นเอง ซึ่งปวงชาวไทยทั้งหลายต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณนี้มิรู้ลืม และเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาทั่วชาวไทยและนานาชาติทั่วโลก ถึงขนาดที่คณะทูตานุทูตทั้งหลายถวายสมญานามว่า พระมหากษัตริย์แห่งพระมหากษัตริย์(King of the Kings)" หรือมิเกินเลยที่จะถวายเทิดพระเกียรติว่า"ทรงเป็นยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง"