สยามพิมพการ: ประวัติศาสตร์การพิมพ์ในประเทศไทย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 หนังสืออันทรงคุณค่าซึ่งรวบรวมประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า และตำนานของ “คนทำหนังสือ” ที่จะช่วยฉายฉากประวัติศาสตร์การพิมพ์ไทยอันยิ่งใหญ่ให้แจ่มชัดขึ้น
.
ภายใต้งานออกแบบและเทคนิคงานพิมพ์ที่สวยงาม เพิ่มความแข็งแรงด้วยรูปเล่มเย็บกี่สันโค้งปกแข็ง ผู้อ่านจะได้พบกับเนื้อหาที่เข้มข้นชวนติดตาม เติมเต็มความสมบูรณ์ด้วยดัชนีค้นคำที่จัดทำขึ้นใหม่เพื่อให้สะดวกต่อการศึกษาค้นคว้ายิ่งขึ้น และคำบอกเล่าอันทรงคุณค่าจากสุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ
.
หนังสือประวัติศาสตร์การพิมพ์อันยิ่งใหญ่เล่มนี้ เพียบพร้อมไปด้วยข้อมูลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่รวบรวมโดยผู้เชี่ยวชาญ และเรียบเรียงใหม่เป็นประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ที่แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ภาค ดังต่อไปนี้
.
1. ประวัติการพิมพ์ – เล่าเรื่องราวประวัติเทคโนโลยีการพิมพ์, ประวัติการหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย, ประวัตินิตยสารในประเทศไทย และประวัติสำนักพิมพ์ในประเทศไทย
2. บทวิเคราะห์ “ชาติไทยในสิ่งพิมพ์” ว่าด้วยบทบาทของบุคคล สังคม ที่มีผลกระทบต่อการพิมพ์ในยุคเริ่มแรกของไทย – นำเสนอเรื่องการพิมพ์ในสังคมไทยช่วงแรกเริ่ม โดยเฉพาะเมื่อการพิมพ์ยังอยู่ในมือของชนชั้นสูง
3. จาก “ประพันธ์สาส์น” ถึง “มติชน” – บอกเล่าการเดินทางของ “มติชน” ตั้งแต่การก่อตั้ง “ประชาชาติ” ก่อนหยั่งรากแข็งแรงในฐานะ “มติชน” ปัจจุบัน
4. ภาคผนวก – รวบรวมรายชื่อหัวหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 7 ภาพถ่ายหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ไทยสมัยต่างๆ ตลอดจนตารางเปรียบเทียบเทคโนโลยีการพิมพ์และการแพร่หลายการพิมพ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในการพิมพ์ครั้งใหม่นี้ นอกจากเนื้อหาที่ครบถ้วนดังเดิมแล้ว คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ) ยังได้เขียน “คำบอกเล่า” สำหรับการพิมพ์ครั้งที่ 2 นี้ด้วย