ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740217527
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกรีนรีด
จำนวนหน้า356 หน้า
น้ำหนัก400.00 กรัม
กว้าง14.50 ซม.
สูง2.00 ซม.
หนา21.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 2 : พฤศจิกายน 2564
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

เขียนจีนให้เป็นไทย

ผู้เขียน : สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์

ใหม่

การสร้างคนจีนให้ “เป็นอื่น” นี้ได้สร้างมรดกตกทอดซึ่งส่งผลสะท้อนอยู่ในสังคมไทยทุกวันนี้ ดังที่คำถามเรื่อง “ความเป็นไทย” ยังคงเป็นประเด็นกึกก้องสำหรับผู้คนที่มองตัวเองหรือถูกผู้อื่นมองว่าเป็น “จีน” แม้ต้นกำเนิดของการจำแนกประเภทนี้จะสามารถย้อนไปได้ยาวไกลถึงช่วงกำเนิดชาติไทย ทว่ากลับมีเพียงผู้คนจำนวนน้อยนิดที่เน้นพินิจพิจารณาว่าการจำแนกประเภทนี้ถูกเสริมสร้างและทำให้เป็นรูปร่างโดยกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความรู้ของไทยในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งก็คือ นักสังคมศาสตร์ในช่วงสงครามเย็น หนังสือเล่มนี้ เป็นผลผลิตจากการวิจัยที่ปราณีตและการไตร่ตรองอย่างรอบด้าน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มนักวิชาการอเมริกันมีส่วนอย่างสำคัญในการตราตรึงและปรับแต่งแนวคิด “สารัตถะ” ที่ให้ภาพว่าใครคือคนจีน นอกจากนี้ บรรดานักวิชาการอเมริกันยังมีส่วนในการตราคำถามทางวิชาการที่ว่า ชุมชนจีนจะสามารถถูกผนวกรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชาติไทยได้อย่างไร

จากคำนำเสนอของ Matthew Phillips

ผู้เขียน Thailand in the Cold war

“คนจีน” วัตถุศึกษาสำคัญของสังคมศาสตร์อเมริกันในการทำความเข้าใจสังคมไทย เพื่อเปิดทางให้สหรัฐอเมริกาแผ่อิทธิพลและเตรียมป้องกันภัยคอมมิวนิสต์ที่กำลังคืบคลานสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงต้นสงครามเย็น

งานศึกษาของนักวิชาการอเมริกันที่เข้ามาศึกษาในไทยจำนวนมากได้กลายเป็นฐานคิดให้แก่วงการวิชาการไทยในเวลาต่อมา ทว่าการก่อตัวของ “ชาตินิยมวิชาการ” ได้สร้างรอยแยกระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา เกิดการศึกษาสวนกลับคำอธิบายเดิมๆ ของอเมริกันภายใต้บรรยากาศชาตินิยม โดยเฉพาะการศึกษาคนจีน

ความเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน มีส่วนในการเริ่มจัดวางตำแหน่ง “คนจีน” ใหม่ในประวัติศาสตร์และสังคมไทย “เจ๊ก” “คนไทยเชื้ิอสายจีน” ที่เป็นมิตรกับประเทศ ห่างไกลจากลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ถือกำเนิดขึ้น และถมช่องว่างที่เคยแยกคนจีนออกจากความเป็นไทยของสังคมศาสตร์อเมริกัน และดูจะเป็นคำอธิบายที่แข็งแกร่งขึ้นยิ่งกว่างานศึกษาของอเมริกันในยุคสงครามเย็น

๑ นวภูมิทัศน์วิชาการ : สังคมศาสตร์สงครามเย็น ไทยศึกษา และคนจีน

  • วัฒนธรรมในการเมืองและสังคมศาสตร์อเมริกัน
  • ไทยศึกษา เมดอินยูเอสเอรุ่นบุกเบิก
  • พรอันประเสริฐและคำสาปในไทยศึกษา
  • วิจัยคนจีน

การเดินทางของ จี. วิลเลียม สกินเนอร์ และหนังสือ เล่ม

  • บัณฑิตผู้ถูกปลดแอก
  • นิยาม “จีน” นิยาม “ไทย”
  • การแข่งขันในสนามวิชาการ : กระบวนทัศน์กลืนกลายในฐานะความรู้อันศักดิ์สิทธิ์
  • เครือข่ายกระบวนทัศน์กลืนกลาย
  • จากความรู้สู่ปฏิบัติการ

๓ วงวิชาการไทยที่เพิ่งสร้างในยุคสงครามเย็น : สังคมศาสตร์ไทยและการศึกษาเกี่ยวกับคนจีนในไทย

  • ก่อนปรากฏวงวิชาการสมัยใหม่ : ปัญญาชนราชการ และคนจีน
  • สังคมศาสตร์ไทยใต้เงาอินทรี
  • เครือข่ายอเมริกันและการวางรากฐานสังคมศาสตร์
  • สังคมศาสตร์กับภาวะอย่างไรหนอที่เรียกว่า “ศิวิไลซ์”
  • วิจัยจีน กระบวนทัศน์กลืนกลายของสกินเนอร์ : สังคมศาสตร์ การกลืนกลาย และความมั่นคงของชาติ
  • การบริหารจัดการองค์กรจีนและการกลืนกลาย
  • วงวิชาการไทยและโซตรวนทางปัญญา

และแล้ว “ชาตินิยมวิชาการ” ก็ปรากฏ : การก่อตัวของ “ชาตินิยมวิชาการ” กับการศึกษาคนจีนในประเทศไทย

  • การก่อตัวของชาตินิยมวิชาการ
  • ความรู้สึกใหม่ที่เรียกว่า “ชาตินิยมวิชาการ”
  • สมรภูมิประวัติศาสตร์ในสงครามเย็น
  • ภาพลักษณ์ที่แปรเปลี่ยนของจีนและคนจีนในไทย
  • ประวัติศาสตร์ในวิกฤติประวัติศาสตร์ : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมวิชาการ
  • ความย้อนแย้งในการเมือง ประวัติศาสตร์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • อ่าน สังคมจีนในประเทศไทย ของสกินเนอร์แบบไทยๆ
  • ก่อนจะผ่านบทนี้ไป

เมื่อชาตินิยมวิชาการมาบรรจบ : ประวัติศาสตร์ในฐานะเครื่องมือการทูตวิชาการในความสัมพันธ์ไทย-จีน กับการเขียนจีนให้เป็นไทย

  • อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ : ระหว่าง “ประวัติศาสตร์” กับ “กระสุนปืน”
  • การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน : สูญญากาศทางความรู้ อารมณ์ขัน กับข้อผิดพลาดทางการพูด
  • ชาตินิยมวิชาการ และการทูตวิชาการจากจีน
  • เขียนไท/ไตให้เป็นจีน
  • ปฏิบัติการของชาตินิยมวิชาการ และการทูตวิชาการไทย-จีน
  • ศิลปวัฒนธรรม : พื้นที่ผสานของชาตินิยมวิชาการ
  • ประวัติศาสตร์ คนจีน และการทูตวิชาการในความสัมพันธ์ไทย-จีน

เมื่อวัตถุวิจัยพูดกลับ : มองไปให้พ้นชาติไทยเพื่อศึกษาชาติไทย