ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN978-974-02-1431-1
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกระดาษจริงใจ 70 แกรม
จำนวนหน้า320 หน้า
น้ำหนัก395.00 กรัม
กว้าง14.00 ซม.
สูง21.50 ซม.
หนา2.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งแรก : สำนักพิมพ์มติชน, กันยายน 2558
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

รัฐ-ธรรม-นัว

ผู้เขียน : วิจักขณ์ พานิช

ใหม่

รวมบทความของ “วิจักขณ์ พานิช” จากคอลัมน์ “ธรรมนัว” ในหนังสือพิมพ์มติชน จำนวน 57 ตอน

“วิจักขณ์” เป็นนักคิดยุคใหม่ที่มองสังคมไทยในภาพรวมได้อย่างถึงแก่น เจาะประเด็นเกี่ยวกับค่านิยม ความหมาย ทัศนคติ และปรากฏการณ์ทางสังคมโดยเฉพาะการเมืองไทยในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ด้วยการใช้ “ธรรมะ” และ “พุทธศาสนา” มาจับประเด็น

รวมบทความของ “วิจักขณ์ พานิช” จากคอลัมน์ “ธรรมนัว” ในหนังสือพิมพ์มติชน จำนวน 57 ตอน“วิจักขณ์” เป็นนักคิดยุคใหม่ที่มองสังคมไทยในภาพรวมได้อย่างถึงแก่น เจาะประเด็นเกี่ยวกับค่านิยม ความหมาย ทัศนคติ และปรากฏการณ์ทางสังคมโดยเฉพาะการเมืองไทยในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ด้วยการใช้ “ธรรมะ” และ “พุทธศาสนา” มาจับประเด็น

เริ่มจากวิพากษ์ถึงปรากฏการณ์ในช่วงก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 บรรยายถึงความคิดและกระแสของผู้คนในช่วงเวลานั้นว่าดำเนินไปในครรลองที่ถูกต้องหรือไม่ เหตุใดคนจำนวนหนึ่งจึงเลือกที่จะยึดอิงสถาบันหลักของชาติโดยมองข้ามความเป็นมนุษย์ มองข้ามระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นการปกครองที่เลวน้อยที่สุดจนทำให้บ้านเมืองเดินเข้าสู่ทางตัน

ส่วนต่อมากล่าวถึงการเมืองในบริบทของพุทธศาสนาว่าย้อนแย้ง ทับซ้อน แลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันอย่างไร เหตุใดเมืองพุทธอย่างประเทศไทยจึงไม่อาจขับเคลื่อนได้ด้วยแก่นแท้ของธรรมะ ขณะที่ผู้มีอำนาจ มวลชนเสียงข้างน้อยที่มีพลัง กลับใช้ประโยชน์จากพุทธศาสนาในทางตรงข้ามกับพุทธะ ร้ายยิ่งกว่าคือการที่อำนาจการเมืองได้ใช้ผ้าเหลืองเป็นเครื่องมือในการปกป้องตนเอง

ส่วนสุดท้าย กล่าวถึงพุทธศาสนาในฐานะสถาบันหลักของชาติว่ามีความก้าวหน้าหรือล้าหลังอย่างใด เหตุใดเมื่อพุทธศาสนาถูกกระทำให้ศักดิ์สิทธิ์ แตะต้องไม่ได้ จะส่งผลร้ายต่อสังคมในทางอ้อมหรือไม่ แล้วทำไมผู้เขียนจึงสนับสนุนให้พระสามารถมีสิทธิ์ทางการเมืองโดยเฉพาะการเลือกตั้งและการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้เช่นเดียวกับพลเมืองทั่วไป

นับเป็นรวมบทความคุณภาพที่มองการเมือง-สังคมผ่านพุทธศาสนา โดยใช้ธรรมะและหัวใจของความเป็นมนุษย์ในการมอง เพื่อให้เกิดการตั้งคำถามและการแสวงหาคำตอบในช่วงเวลาที่ระบอบอำนาจนิยมได้เข้าปกคลุมอีกครั้ง