ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN978-974-02-1286-7
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกระดาษจริงใจ 70 แกรม
จำนวนหน้า160 หน้า
น้ำหนัก220.00 กรัม
กว้าง14.10 ซม.
สูง21.50 ซม.
หนา1.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งแรก : สำนักพิมพ์มติชน, พฤษภาคม 2557
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

ปากกาทอง

ผู้เขียน : ณรงค์ จันทร์เรือง

ใหม่

"ปากกาทอง" หนังสือเล่มสุดท้ายในชุด "ปากกา" ของ "ณรงค์ จันทร์เรือง" เล่มนี้ กล่าวถึงความเป็นไปในอดีตว่ารูปแบบของการเขียนหนังสือเมื่อหลายสิบปีก่อนเป็นอย่างไร อาทิ นักเขียนยึดติดกับการเขียน ยึดติดกับสื่อสิ่งพิมพ์และนิตยสารมากแค่ไหน เหตุใดนักเขียนบางคนจึงยึดติดกับเสื้อผ้าหน้าผม ก่อนจะบรรยายถึงนักเขียนแต่ละคนว่ามีรายละเอียดอย่างไร อาทิ สุวัฒน์ วรดิลก โกวิท สีตลายัน รงค์ วงษ์สวรรค์ ว่าเขามีรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างไร

"ปากกาทอง" หนังสือเล่มสุดท้ายในชุด "ปากกา" ของ "ณรงค์ จันทร์เรือง" เล่มนี้ กล่าวถึงความเป็นไปในอดีตว่ารูปแบบของการเขียนหนังสือเมื่อหลายสิบปีก่อนเป็นอย่างไร อาทิ นักเขียนยึดติดกับการเขียน ยึดติดกับสื่อสิ่งพิมพ์และนิตยสารมากแค่ไหน เหตุใดนักเขียนบางคนจึงยึดติดกับเสื้อผ้าหน้าผม ก่อนจะบรรยายถึงนักเขียนแต่ละคนว่ามีรายละเอียดอย่างไร อาทิ สุวัฒน์ วรดิลก โกวิท สีตลายัน รงค์ วงษ์สวรรค์ ว่าเขามีรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างไร

เมื่อเกริ่นเรื่องได้ลำดับหนึ่ง จึงเข้าเนื้อหาส่วนใหญ่ของเรื่องนั่นคือการวิพากษ์วิจารณ์ความเป็นไปในแวดวงวรรณกรรม ผู้เขียนมิได้ฟันธงว่าปรากฏการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นในแวดวงน้ำหมึกในปัจจุบันมันผิดหรือถูก หากแต่มองไปในมุมของคนที่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของ “งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ” และ “งานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ” ว่าเหตุใดสองงานยักษ์ใหญ่นี้ถึงเป็นเสาค้ำความอยู่รอดของแวดวงหนังสือ จำเป็นจริงๆ หรือไม่ที่หากไม่มีกิจกรรมหัวปีท้ายปีเช่นนี้แล้วแวดวงวรรณกรรมจะอยู่ไม่ได้

แต่ถึงจะมีปรากฏการณ์ดังกล่าว ผู้เขียนก็ยังชื่นชมนักเขียนบางคนที่เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในยุคดี อาทิ นิ้วกลม หนุ่มเมืองจันท์ คริสต์ ไรท์ ฯลฯ และนักเขียนที่เป็นแม่เหล็กในงานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ผ่านๆ มา ผู้เขียนมองว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ผ่านมาแล้วก็อาจจะผ่านไป ดังเช่นการริเริ่มสื่อใหม่ๆ อย่างเช่นโทรทัศน์และวิทยุเมื่อครั้งอดีต ซึ่งทำให้แวดวงหนังสือในเวลานั้นฮือฮาว่าวงการน้ำหมึกจะอยู่รอดหรือไม่ แต่สุดท้ายก็ผ่านมาได้จนถึงทุกวันนี้ เป็นต้น