ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN978-974-02-1260-7
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกระดาษจริงใจ 70 gram
จำนวนหน้า168 หน้า
น้ำหนัก230.00 กรัม
กว้าง14.30 ซม.
สูง21.40 ซม.
หนา1.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งแรก : สำนักพิมพ์มติชน, มีนาคม 2557
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

"ประชาธิปไตย" คนไทยไม่เท่ากัน

ผู้เขียน : อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

ใหม่

เปิดมุมมองประชาธิปไตยแบบไทยๆ ตั้งแต่โครงสร้างทางการเมืองยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ (สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์) กับการสถาปนาอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปจนถึงยุคของการเกิดขึ้นของชนชั้นกลางใหม่ในสังคมสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร

เปิดมุมมองประชาธิปไตยแบบไทยๆ ตั้งแต่โครงสร้างทางการเมืองยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ (สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์) กับการสถาปนาอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปจนถึงยุคของการเกิดขึ้นของชนชั้นกลางใหม่ในสังคมสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร และความเคลื่อนไหวของ "คนในชนบท" ที่เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นในยุคปัจจุบันจาก

โครงสร้างอำนาจของสังคมที่เหลื่อมล้ำ ร่วมสืบค้นความเชื่อและความจริงทางประวัติศาสตร์ที่หล่อหลอมให้บางคนเชื่อว่า "1 คน 1 เสียง ไม่เหมาะกับสังคมไทย" ขณะที่บางคนบอกว่า คนเหล่านั้นคงลืมไปหรือไม่ได้มีความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนที่ทั่วทั้งโลกบอกว่า "เท่าเทียมกัน"

หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายถึงความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองทุกวันนี้ที่ะช่วยให้เข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะดำรงตนหรือกำหนดจุดยืนทางประชาธิปไตยได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ตลอดจนช่วยให้เห็นลู่ทางที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติวิธี อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๒ ถึงปัจจุบัน เป็นผู้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจรายวัน คอลัมน์ “ใต้กระแส” มีผลงานด้านประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ-การเมือง ประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น การพัฒนาและด้อยพัฒนาของประเทศโลกที่สาม สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น และประวัติศาสตร์ความรู้สึก

ความสนใจที่กว้างขวางของอรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ประกอบกับเป็นนักประวัติศาสตร์ ทำให้เขามอง “ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง” ในสังคมไทยปัจจุบันโดยให้ความสำคัญกับการพิจารณาบริบททางประวัติศาสตร์ เชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของคนหลายฝ่ายที่มีภูมิหลังและเงื่อนไขแวดล้อมต่างกัน