ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN978-974-02-1212-6
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกระดาษจริงใจ 70
จำนวนหน้า184 หน้า
น้ำหนัก230.00 กรัม
กว้าง14.30 ซม.
สูง21.30 ซม.
หนา1.10 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งแรก : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2556
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

ปากกาเงิน

ผู้เขียน : ณรงค์ จันทร์เรือง

ใหม่

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในแวดวงวรรณกรรมเมื่อประมาณปี พ.ศ.2500 นักประพันธ์ในสมัยนั้นมีความตื่นตัวในการสรรค์สร้างงานเขียนเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกัน นักเขียนอีกหลายต่อหลายคนก็ได้กระโจนเข้าสู่แวดวงที่มิใช่นักเขียน-นักหนังสือพิมพ์เพียงอย่างเดียว อีกทั้งบุคลิกของนักเขียนแต่ละคนก็อาจเหมือนหรือตรงข้ามกับเนื้อหาในบทประพันธ์ก็เป็นได้

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในแวดวงวรรณกรรมเมื่อประมาณปี พ.ศ.2500 นักประพันธ์ในสมัยนั้นมีความตื่นตัวในการสรรค์สร้างงานเขียนเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกัน นักเขียนอีกหลายต่อหลายคนก็ได้กระโจนเข้าสู่แวดวงที่มิใช่นักเขียน-นักหนังสือพิมพ์เพียงอย่างเดียว อีกทั้งบุคลิกของนักเขียนแต่ละคนก็อาจเหมือนหรือตรงข้ามกับเนื้อหาในบทประพันธ์ก็เป็นได้

“ปากกาเงิน” สารคดีวรรณกรรมจากการเรียบเรียงของ “ณรงค์ จันทร์เรือง” จึงได้ได้กล่าวถึงความสนิทแนบแน่นระหว่างนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์คล้ายกับรวมบทความในซีรี่ส์ “น้ำหมึก” ซึ่งเป็นซีรี่ส์ชุดที่แล้วจากผู้เขียนคนเดียวกัน หากแต่เล่มนี้กล่าวเน้นถึงความเชื่อมโยงระหว่าง “นักเขียนด้วยกัน” ว่าในแวดวงนักเขียนสมัยนั้นมีความเกี่ยวข้องสนิทสนมกันอย่างไร เหตุใดนักเขียนส่วนใหญ่เมื่อกระโจนเข้าสู่โลกนักเขียนแล้วไม่อาจกลับตัวไปมีอาชีพอื่น หรือเหตุใดจึงยังติดใจอาชีพนักเขียนอยู่

ไม่เพียงเท่านั้น หนังสือเล่มนี้ยังได้กล่าวถึงบรรยากาศในการก่อตั้งชมรมต่างๆ โดยเฉพาะสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย อีกทั้งยังเล่าถึงการเคี่ยวกรำของนักเขียนนามอุโฆษอย่างมนัส จรรยงค์, สุวัฒน์ วรดิลก, เลียว ศรีเสวก, คำพูน บุญทวี, โกวิท สีตลายัน และญาติน้ำหมึกผู้ร่วมสร้างวงการประพันธ์ของไทยว่าได้วาดชีวิตโลดโผนไว้มากมายอย่างไร ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นข้อเท็จจริงอย่างยากที่จะแยกจากกันได้