
คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้
สินค้า | ราคา | จำนวน | ราคารวม | |
---|---|---|---|---|
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้ |
ISBN | 9789740216766 |
---|---|
ปกหนังสือ | อ่อน |
กระดาษ | EPO |
จำนวนหน้า | 384 หน้า |
น้ำหนัก | 570.00 กรัม |
กว้าง | 16.50 ซม. |
สูง | 21.00 ซม. |
หนา | 2.00 ซม. |
พิมพ์ครั้งที่ | พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2562 |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์มติชน |
เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
มีพัฒนาการมาจากเรือในพิธีกรรมสมัยโบราณดังที่ปรากฎอยู่บนกลองมโหระทึกสมัยโบราณ ก่อนที่จะกลายเป็นเรือศักดิ์สิทธิ์เมื่อมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นกับความเชื่อทางศาสนาทั้งพุทธและพราหมณ์ ในขณะที่ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคอาจมีที่มาจากการจัดรูปแบบขบวนเรือรบในสมัยโบราณอีกทีหนึ่ง
ในสมัยอยุธยา เรือพระราชพิธีสำหรับประกอบพิธีกรรมของราชสำนัก อย่างพระราชพิธีเดือน 11 อันเป็นพิธีกรรมที่สำคัญของพระมหากษัตริย์ไทย
ครั้นพอเข้าสู่สมัยใหม่ ความเชื่อและพิธีกรรมหมดบทบาทลงไป แต่เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมารคก็ยังคงเป็นของสำคัญของพระมหากษัตริย์ไทยในการแสดงพระเกียรติยศและบารมี
รศ.ดร. ศานติ ภักดีคำ ได้รวบรวมข้อมูลของเรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ตั้งแต่สมัยก่อนอยุธยาจนถึงรัชกาลที่ 9 นับเป็นโอกาสที่ได้สำหรับคนไทยที่จะมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับเรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมารค หนึ่งในความยิ่งใหญ่อลังการของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยที่ไม่ได้หาดูได้ง่ายๆ ในปัจจุบัน
ก่อนจะมาเป็นเรือพระราชพิธี
เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สมัยอยุธยา
เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สมัยธนบุรี
เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๗
เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมารคสมัยรัชกาลที่ ๙