
คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้
สินค้า | ราคา | จำนวน | ราคารวม | |
---|---|---|---|---|
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้ |
ISBN | 978-974-02-1402-1 |
---|---|
ปกหนังสือ | อ่อน |
กระดาษ | กระดาษจริงใจ 70 แกรม |
จำนวนหน้า | 184 หน้า |
น้ำหนัก | 210.00 กรัม |
กว้าง | 13.00 ซม. |
สูง | 18.50 ซม. |
หนา | 1.00 ซม. |
พิมพ์ครั้งที่ | พิมพ์ครั้งแรก : สำนักพิมพ์มติชน, พฤษภาคม 2558 |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์มติชน |
นานเนิ่นหลายสิบปีเห็นจะได้ สำหรับการกำเนิดของ “วิชชาธรรมกาย” ซึ่งผู้ที่ประกาศการค้นพบก็คือ “หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ” โดยกล่าวอ้างว่าเป็นวิชชาของพระพุทธเจ้าที่เคยตรัสสอนไว้ แต่เมื่อพระองค์ปรินิพพานก็ได้สูญสลายหายไป จนผ่านไปหลังปรินิพพานราว 500 ปีต่อมาจึงได้ค้นพบขึ้นอีกครั้ง
นานเนิ่นหลายสิบปีเห็นจะได้ สำหรับการกำเนิดของ “วิชชาธรรมกาย” ซึ่งผู้ที่ประกาศการค้นพบก็คือ “หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ” โดยกล่าวอ้างว่าเป็นวิชชาของพระพุทธเจ้าที่เคยตรัสสอนไว้ แต่เมื่อพระองค์ปรินิพพานก็ได้สูญสลายหายไป จนผ่านไปหลังปรินิพพานราว 500 ปีต่อมาจึงได้ค้นพบขึ้นอีกครั้ง
ไม่ว่าวิชาธรรมกายของพระพุทธเจ้าจะเป็นเรื่องจริงหรือโกหก แต่ “วัดพระธรรมกาย” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้หลวงพ่อสดจะอ้างว่าตนได้ค้นพบวิชาธรรมกาย แต่หลังจากประพฤติตามหลักความเชื่อดังกล่าว กลับค้นพบว่ามิได้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า จึงได้ยุติลงก่อนจะมรณภาพในอีกหลายปีต่อมา กระนั้นวิชาธรรมกายกลับได้รับการถ่ายทอดจากลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อสด กลายเป็นศาสนสถานที่สั่งสมอำนาจและบารมีด้วยพุทธพานิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
“เสฐียรพงษ์ วรรณปก” ราชบัณฑิตคนสำคัญของไทย ผู้แลเห็นความเท็จที่แฝงอยู่ในคำสอนของวัดธรรมกาย จึงได้ออกมาตอบโต้ชี้แจงว่า หลักคำสอนดังกล่าวได้รับการบิดเบื้อน แต่งแต้มจากดำเป็นขาว รวมอยู่ในหนังสือ “บทเรียนชาวพุทธจากกรณีธรรมกาย” เล่มนี้
โดย “เสฐียรพงษ์” ได้อธิบายอย่างละเอียดถึงข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกว่าเป็นอย่างไร การอัดธรรมกาย การถวายข้าวแก่พระพุทธเจ้า การนั่งสมาธิจนเห็นลูกแก้ว การเดินเท้าบนดอกดาวเรือง ฯลฯ เป็นกิจของสงฆ์หรือเป็นเรื่องหลอกลวงหรือไม่ เพื่อให้คนไทย “ตื่นรู้” ถึงหลักคำสอนว่าสมควรที่จะปฏิบัติตาม หรือจะตอบโต้ต่อต้านเพื่อปกป้องหลักการอันแท้จริงของพุทธศาสนา