ทดลองอ่านได้ที่: https://bit.ly/4idRYQ2
แม้จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นตามระบอบประชาธิปไตย
แต่ประเทศไทยยังคงเผชิญกับวิกฤตทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะการแทรกแซงของกองทัพผ่าน “การรัฐประหาร”
.
"ประชาธิปไตยไทยที่ถดถอย: สมรภูมิการเมืองไทยสู่ความขัดแย้งใหม่ที่ยังไม่จบ" (Thailand Contestation, Polarization, and Democratic Regression) ผลงานของ "ประจักษ์ ก้องกีรติ" นักวิชาการรัฐศาสตร์ที่มีผลงานหนังสือเกี่ยวกับการเมืองไทยมาแล้วหลายเล่ม เช่น ความหวังที่เคลื่อนไหว โลกขวาๆ ซ้ายๆ และความท้าทายของประชาธิปไตย, When We Vote: พลวัตการเลือกตั้งและประชาธิปไตยในอาเซียน ฯลฯ
.
สำหรับเล่มนี้ได้นำเสนอภาพรวมของการเมืองไทยไว้อย่างกระชับและครบถ้วน ตั้งแต่ทศวรรษ 2490 ซึ่งเป็นช่วงที่พันธมิตรระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับกองทัพเริ่มก่อตัวขึ้น จนถึงพัฒนาการล่าสุดภายหลังการเลือกตั้งอันสั่นสะเทือนใน พ.ศ. 2566
.
โดยเจาะลึกถึงลักษณะเฉพาะของรัฐไทย การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมือง การประท้วงบนท้องถนน การขับเคี่ยวในสนามการเลือกตั้ง ไปจนถึงความขัดแย้งทางอุดมการณ์ และเผยให้เห็นสัญญาณเริ่มต้นของการต่อสู้ครั้งใหม่เพื่อสร้างระเบียบทางการเมืองที่เป็น “ประชาธิปไตย”
.
สารบัญ
คำนำสำนักพิมพ์
คำนำผู้แปล
1 บทนำ
2 การรวมกลุ่ม การแข่งขัน และการร่วมมือ: พันธมิตรกษัตริย์-กองทัพและศัตรู
3 วิกฤตเศรษฐกิจ การปรับโครงสร้างทางการเมืองระดับชาติ
และการปรับระเบียบอำนาจท้องถิ่น (พ.ศ. 2540-2549)
4 วิกฤตทางการเมือง: การแบ่งขั้ว ความเหลื่อมล้ำ และความรุนแรง (พ.ศ. 2549-2557)
5 การต่อสู้เพื่อระเบียบการเมืองใหม่ (พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน)
6 บทสรุป
บรรณานุกรม