ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740219163
ปกหนังสือปกอ่อน
กระดาษIvory 80 g. 4 สี
จำนวนหน้า344 หน้า
น้ำหนัก400.00 กรัม
กว้าง14.30 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา1.50 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 1
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

ยกเมฆ: เรื่องเล่าเคล้าวัฒนธรรมก้อนเล็กๆ จากฟากฟ้า

ผู้เขียน : บัญชา ธนบุญสมบัติ

ใหม่ ขายดี ฟรีค่าจัดส่ง

ทดลองอ่าน : https://bit.ly/3XHaKWS


ในยุคปัจจุบัน เมื่อกล่าวถึงปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ เรามักมุ่งเน้นความสำคัญไปยังเรื่องของข้อมูลข่าวสารการพยากรณ์อากาศรายวัน หรือแม้แต่การคาดการณ์อนาคตของภูมิอากาศโลก ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการมองปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศโดยใช้วิทยาศาสตร์ในการอธิบาย แต่ทว่า เรื่องราวเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศยังมีมิติอื่นๆ ที่เกี่ยวโยงสัมพันธ์ ซึ่งสอดคล้องกับไปวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

หนังสือชุดมีทีโอโรลอจิกา (Meterologica) งานวิชาการอายุราว 2,000 ปี ของปราชญ์กรีกผู้เรืองนามอย่าง อริสโตเติล ที่เป็นต้นเค้านำร่องมาก่อนวิทยาการด้านอุตุนิยมวิทยาสมัยใหม่ เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ งานศิลปะ รวมไปถึงตำนานเทพปกรณัมในสังคมวัฒนธรรมต่างๆ ต่างก็มีหลักฐานและแง่มุมทางฝนฟ้าอากาศปรากฏ หรือแม้แต่ในสังคมวัฒนธรรมไทย ต่างมีการสืบสานและการบันทึกเรื่องราวภูมิปัญญาเกี่ยวกับลม ฝน และสภาพอากาศ ไว้ทั้งในรูปแบบเอกสารไม่ว่าจะเป็น หนังสือแสดงกิจจานุกิจ ซึ่งเป็นหนังสือตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 หรือพจนานุกรมอักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์ก็มีศัพท์เกี่ยวกับฟ้าฝนจำนวนไม่น้อย และหากลงลึกไปในระดับท้องถิ่น ผู้คนในแต่ละพื้นที่ก็มีคำศัพท์หรือสำบัดสำนวนการพูดที่สะท้อนภูมิปัญญาว่าด้วยฝนฟ้าที่มีมาแต่อดีตกาล

และอีกหลายเรื่องราวปรากฏการณ์ฝนฟ้าอากาศ ในหลากแง่มุมทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ที่บางเรื่องก็สามารถอธิบายและทำความเข้าใจในเชิงวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้อย่างน่าทึ่ง ในขณะที่บางเรื่อง แม้จะยังคงสร้างความฉงนสงสัยและยังไม่ได้คำตอบหรืออธิบายที่แน่ชัด แต่ทว่า เรื่องราวปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศเหล่านั้นก็ยังคงควรค่าแก่การเรียนรู้ศึกษาต่อไป

สารบัญ

ก้อนที่หนึ่ง: เมฆและฝนฟ้าอากาศในเชิงวัฒนธรรม

“ยกเมฆ” วิชาทำนายทายทักในสมัยโบราณ

เมฆ: ภูมิปัญญาจีนโบราณ vs วิทยาศาสตร์

จาก “หางมังกร” สู่ “หางม้าแดงพิสดาร”: มุมมองเชิงวัฒนธรรมเกี่ยวกับทอร์นาโด

ธอร์นั้นหรือ…แท้คือองค์อินทร์?

เทพีแห่งโลกตะวันตกที่เกี่ยวข้องกับฟ้าฝน

ก้อนที่สอง: ภูมิปัญญาไทยในอดีตเกี่ยวกับฝนฟ้าอากาศ

ภูมิปัญญาไทยในหนังสือแสดงกิจจานุกิจว่าด้วย “ฝนฟ้าอากาศ”

ภูมิปัญญาไทยในหนังสือแสดงกิจจานุกิจว่าด้วย “ฟ้าผ่า”

ลม (โยก) ข้าวเบา & สารพัดลมในช่วงปลายฝน-ต้นหนาว

รุ้งกินน้ำทาง “ทิศใต้” ได้หรือไม่?

ฟ้าลายเห็ดบด vs เมฆเกล็ดฟ้า: ภูมิปัญญาข้ามวัฒนธรรม

ลมทิศต่างๆ ในวัฒนธรรมไทย

ก้อนที่สาม: รากฐานแห่งความรู้ & กรณีศึกษาฝนฟ้าในอดีต

ปฐมบทแห่งอุตุนิยมวิทยา

อริสโตเติลอธิบายปรากฏการณ์ “ฟ้าฝน” อย่างไร?

กรีก & โรมัน อธิบาย “พายุทอร์นาโด” อย่างไร?

ภาพเก่าเล่าอดีต: ยุโรปถูกทอร์นาโดเล่นงาน

ภาพเก่าเล่าเรื่องนาคเล่นน้ำในยุโรป

ปริศนาแถบมืดพาดฟ้าในปี ค.ศ. 1760

การทรงกลดครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลกตะวันตก

“General Winter” นโปเลียนแพ้ ‘ใคร’ ในรัสเซีย?

ศาสตร์และศิลป์แห่ง “ลมเฟิน”

ก้อนที่สี่: เมฆฟ้ากับภาษาและวรรณกรรม

เมฆกับภาษาและวรรณกรรม

ศัพท์เมฆฟ้าในอักขราภิธานศรับท์

ซ่อนไว้ในคำ

คำพังเพยของฝรั่งเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ มีส่วนจริงแค่ไหน?

ฝนตก “ห่า” หนึ่งมากแค่ไหนกัน?

“วันออกสองลูกสามลูก” ของไทอาหม คนไทในรัฐอัสสัม

แสงปริศนารอบเงาศีรษะ คืออะไร?

เมฆทูต

พลังแห่งเมฆาบำบัด