ทดลองอ่านได้ที่: https://bit.ly/3zustsA
“ซุปอยุธยา” นั้นไปมีต้นกำเนิดอยู่ในเมืองพม่าได้อย่างไร
เหตุใด “อาหาร” ต้อง “เน่า” ก่อนแล้วจะอร่อยขึ้น
แล้วทำไม “ขนมฆ่าผัว” ถึงทำให้มีคนตาย แต่ “แกงฆ่าผัว” กลับทำให้สุขภาพดีวันดีคืน
ร่วมสำรวจสำรับบนโต๊ะอาหารของผู้คนในอุษาคเนย์ อันเต็มไปด้วยอัตลักษณ์ที่มีความหลากหลาย เพื่อเผยให้เห็นรากร่วมในวัฒนธรรมอาหารการกินที่สัมพันธ์กันภายใต้บริบทการเมืองและสังคม
หนังสือนำเสนอประวัติศาสตร์และสารคดีเกี่ยวกับอาหารของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอุษาคเนย์ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชาติพันธุ์ การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมหรือประเทศ และพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สิ่งเหล่านี้ได้หลอมรวมและมีพัฒนาการต่ออาหารของผู้คนในภูมิภาคนี้ หนังสือนำเสนอให้เห็นว่าอาหารในแต่ละประเทศของภูมิภาคนี้มีอัตลักษณ์ที่หลากหลาย และขณะเดียวกันก็ฉายให้เห็นรากหรือความคล้ายคลึงที่อาหารเหล่านี้มีร่วมกัน
สารบัญ
ข้างสำรับลาว ความไม่แตกต่างระหว่างสำรับชาวบ้านกับชาววัง
ข้างสำรับเวียดนาม จากสังคมบรรพกาล ราชสำนัก อาณานิคม ถึงเมนูร่วมสมัย
ข้างสำรับกัมพูชา คำพื้นบ้านเขมรยังเป็นราชาศัพท์ไทยประสาอะไรกับอาหาร
ข้างสำรับเมียนมา อาหารพม่ามีสีสันเพราะพม่ามีชนกลุ่มน้อยที่ยิ่งใหญ่
ข้างสำรับอินโดนีเซีย พื้นที่รังสรรค์วัฒนธรรมอาหารฮินดู พุทธ มุสลิม และคริสต์
ข้างสำรับมาเลเซีย การรวมกันที่แยกส่วนของอาหารเปอรานากัน ทมิฬ และภูมิบุตร
ข้างสำรับสิงคโปร์ เมืองหลวงแห่งพหุวัฒนธรรมอาหารสากล
ข้างสำรับฟิลิปปินส์ ตะวันออกพบตะวันตก ดินแดน 7,000 เกาะแห่งอุษาคเนย์
ข้างสำรับบรูไน รัฐอิสลาม กฎหมายอิสลาม กับอาหารอิสลาม
ข้างสำรับติมอร์-เลสเต สากลกับท้องถิ่น และการย้อนกลับทางวัฒนธรรม
ข้างสำรับไทย เป็นไทยที่ลำต้นกิ่งก้านใบดอกผล รากเหง้าปะปนหลากเผ่าหลายพันธุ์