
คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้
สินค้า | ราคา | จำนวน | ราคารวม | |
---|---|---|---|---|
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้ |
ISBN | 978-974-02-1153-2 |
---|---|
ปกหนังสือ | อ่อน |
กระดาษ | เอ๊กซ์คาโร่ 65 |
จำนวนหน้า | 104 หน้า |
น้ำหนัก | 130.00 กรัม |
กว้าง | 13.00 ซม. |
สูง | 18.40 ซม. |
หนา | 0.60 ซม. |
พิมพ์ครั้งที่ | พิมพ์ครั้งแรก : สำนักพิมพ์มติชน, กรกฎาคม 2556 |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์มติชน |
หากจะกล่าวถึงประเทศกัมพูชา หลายคนอาจนึกถึงความยิ่งใหญ่ของปราสาทนครวัด นครธม หรือปราสาทเขาพระวิหาร ตรงข้ามกับชาวเขมรส่วนใหญ่ที่มิได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีตามหลักแหล่งอันอุดม หรือเติบโตตามรอยทางอันยิ่งใหญ่ตามบรรพบุรุษของพวกเขา
เนื่องเพราะ “สงคราม” ทำให้ชีวิตต้องพบกับอุปสรรคมากมาย
หากจะกล่าวถึงประเทศกัมพูชา หลายคนอาจนึกถึงความยิ่งใหญ่ของปราสาทนครวัด นครธม หรือปราสาทเขาพระวิหาร ตรงข้ามกับชาวเขมรส่วนใหญ่ที่มิได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีตามหลักแหล่งอันอุดม หรือเติบโตตามรอยทางอันยิ่งใหญ่ตามบรรพบุรุษของพวกเขาเนื่องเพราะ “สงคราม” ทำให้ชีวิตต้องพบกับอุปสรรคมากมาย
“อุดม สีสุวรรณ” หรือในนามปากกา “บรรจง บรรเจิดศิลป์” และ “พ.เมืองชมพู” จึงใช้ประสบการณ์ที่ได้พบเห็นความกล้าหาญของชาวเขมร ขีดเขียนบทบันทึกลงในนิตยสาร “บานไม่รู้โรย” ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ในเครือมติชนเมื่อหลายปีก่อนก่อนจะนำมารวมในหนังสือ “ไปเขมร” เล่มนี้
ผู้เขียนได้เล่าถึงประสบการณ์ชีวิตของตนว่า ครั้งหนึ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เขาได้พบกับชายชาวเขมรชื่อ “ทวี” ซึ่งแม้จะเป็นชาวเขมรที่มีชีวิตสะดวกสบาย เคยได้เข้ารับการศึกษาในกรุงเทพฯ ได้พบรักและแต่งงานกับสาวไทยและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขแต่เมื่อเขาได้รับทราบข่าวคราวว่า บ้านเมืองกัมพูชาของเขาถูกกระทำย่ำยี เขาจึงตัดสินใจหย่าร้างกับภรรยา ก่อนจะออกเดินทางไปยังกัมพูชาเพื่อสมัครเป็นหนึ่งในกลุ่ม “เขมรอิสระ” เพื่อต่อสู้กับอริราชศัตรู
ขณะเดียวกัน ในเมืองไทยได้เกิดเหตุปฏิวัติรัฐประหาร ผู้เขียนจึงตัดสินใจลี้ภัยไปยังประเทศกัมพูชา ที่นั่นเขาได้ผจญกับความยากลำบาก ยิ่งทำให้เขาคิดอยากพบทวีที่กำลังต่อสู้เพื่อดินแดนแห่งนี้
ผู้เขียนจะได้พบทวีหรือไม่ ชีวิตของผู้เขียนและทวีจะเป็นอย่างไร นั่นเป็นเนื้อหาและรายละเอียด
แต่อย่างน้อย หนังสือเล่มนี้ก็นับเป็นข้อเขียนอันทรงคุณค่า ที่ยกย่องเชิดชูคนธรรมดาสามัญว่าพวกเขาเป็นส่วนสำคัญที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ โดยมิใช่ประวัติศาสตร์ของผู้ชนะหรือของคนใหญ่คนโตแต่อย่างใด