ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9770125365407
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษปอนด์
จำนวนหน้า146 หน้า
น้ำหนัก400.00 กรัม
กว้าง210.00 ซม.
สูง290.00 ซม.
หนา10.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2565
สำนักพิมพ์กอง บก.ศิลปวัฒนธรรม

ศิลปวัฒนธรรม ส.ค. ๒๕๖๕ ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑๐ ส.ค.



เรื่องเด่นประจำเล่ม

· พระพุทธบาท : สัญลักษณ์ ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาและการเมืองสมัยอยุธยา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชปรารภเรื่องพระบาทสระบุรีว่า “ผู้ที่รู้แท้เขารู้พื้นเพพระบาท เพราะเรื่องต้นเกิดมาแต่เมื่อไร พระบาทนั้นเป็นของคนทำฤๅพระพุทธเจ้าทำ..” แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทที่สระบุรีได้ถูกสถาปนาให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ทุกคนเชื่อมั่นศรัทธาโดยไม่สงสัย-ทำไม?

ค้นหาคำตอบ ที่มาของความสำคัญ ความศักดิ์สิทธิ์ของพระบาทที่สระบุรี และการบูชารอยพระพุทธบาทในสมัยอยุธยาสะท้อนนัยยะทางการเมืองอย่างไร? เมื่อ “พระบาท” ถูกสถาปนาขึ้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของอาณาจักร!

.

และบทความน่าสนใจอื่นๆ

· เครื่องราชบรรณาการล้ำค่าจากกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงลังกา

ตามรอยพระพุทธบาททองคำเครื่องราชบรรณาการล้ำค่าจากกรุงศรีอยุธยาสมัยพระเจ้าบรมโกศถึงกรุงลังกา ย้อนอดีตสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับรอยพระพุทธบาท และบทสวดสรรเสริญลายลักษณ์พระพุทธบาท

· เปิดภาพเก่ากรุงสยาม ต้อนรับ “สมเด็จพระพันปีหลวง” เสด็จฯ เยือนปารีส พ.ศ. ๒๕๐๓

เปิดภาพเก่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ เมื่อสื่อมวลชนต่างชาติจารึกภาพและถวายพระสมัญญาว่าเป็นพระราชินีผู้เลอโฉมที่สุดในปฐพี

· แนวคิด “หญิงมาดใหม่” (The New Woman) ในการปลดแอกของสตรีช่วงเปลี่ยนผ่านศตวรรษ มองจากตะวันตกมาสู่สยามสมัยใหม่

จากผู้หญิงโบราณที่เคยพับเพียบ มาโพสต์ท่าถ่ายรูป แต่งกายแบบใหม่-เป็น “หญิงมาดใหม่” สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน

แต่ “หญิงมาดใหม่” เป็นเช่นไร ค้นหาคำตอบในสังคมตะวันตก แล้วมองย้อนกลับมายังสยามสมัยใหม่ เมื่อสตรีในราชสำนักสยามสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากจารีตประเพณีอย่างน่าสนใจเช่นกัน