
คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้
สินค้า | ราคา | จำนวน | ราคารวม | |
---|---|---|---|---|
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้ |
ISBN | 974-323-152-8 |
---|---|
ปกหนังสือ | ปกแข็ง |
กระดาษ | กระดาษกรีนรีด |
จำนวนหน้า | 516 หน้า |
น้ำหนัก | 570.00 กรัม |
กว้าง | 14.40 ซม. |
สูง | 21.40 ซม. |
พิมพ์ครั้งที่ | พิมพ์ครั้งที่ 8 : สำนักพิมพ์มติชน, กรกฎาคม 2548 |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์มติชน |
รู้จักเหมืองแร่ไหม?
เด็กสมัยนี้คงตอบยาก อาจจะเคยได้ยินชื่อ และเคยได้เรียนในวิชาสังคมศาสตร์มาบ้าง แต่คงไม่มีใครนึก
ภาพการทำงานของเหมืองได้หรอก
Go west, Go west...ไปบุกไร่ไถนากันเถิด ไปบุกเบิกแผ่นดินใหม่ ไปเสี่ยงชะตา ให้ฟ้ากำหนดชีวิตเรา
เถิด
นั่นละ-อาจินต์ ปัญจพรรค์ ในปี ๒๔๙๓ แต่เขาไม่ได้ Go west หรือบุกเบิกอะไรที่ไหนหรอก หากแต่ Go south โกทูพังงา โกทูเหมืองแร่ อันอุดมไปด้วยป่าแดด ป่าฝน และป่าทราย
เขาอยากไปกระนั้นหรือ-เปล่าหรอก เขาเคยบอกเหตุผลไว้ใน "เมื่อจุฬาไม่ต้องการข้าพเจ้า" เหตุใดเขา
จึงต้องระเห็จตัวเองสู่เหมืองแร่ พร้อมด้วยปริญญาครึ่งใบที่ไม่มีความหมายเลยในเหมืองอันกันดารนั้น ทฤษฎีครึ่งๆ
กลางๆ ในห้องเรียนคณะวิศวะหลักสูตรเร่งรัด เป็นเพียงหางอึ่งของประสบการณ์จริงในงานเหมือง
๔ ปีเต็ม (๒๔๙๒-๒๔๙๖) เขากลับออกมาจากเหมืองด้วยเงินเท่าเดิมกับเมื่อแรกย่างเข้าไปคือศูนย์บาท
และไม่มีสมบัติอะไรติดไม้ติดมืออกมาเป็นที่ระลึกได้ นอกจากความทรงจำที่ลึกซึ้ง และรูปถ่ายเก่าๆ ไม่กี่ใบ ที่เมื่อไร
ก็ตามที่เขาหยิบมันขึ้นมาดู คนในภาพนั้นก็จะขยิบตา โบกไม้โบกมือให้เขา จากนั้นก็จะจูงมือเขาสู่อดีต ไปพบกับ
เพื่อนฝูง เรือขุด และสภาพแวดล้อมเดิมๆ นั้น
"ความหลังของข้าพเจ้าฝังอยู่ที่นี่ ขุดขึ้นมาล้างน้ำ แคะขี้ดินทิ้งตะไบขี้สนิมออก ชโลมบราซโซลงไป ขัด
แรงๆ แล้วเอากำมะหยี่นุ่มๆ เช็ดเบาๆ มันก็สุกปลั่งขึ้นมาท่ามกลางแสงแดดแห่งฟ้าเหมืองแร่...ความหลังที่น่า
รัก...ความหลังที่น่าเกลียด" จากเรื่อง สองพี่น้อง
นี่คือความสามารถของนักเขียน-อาจินต์ ปัญจพรรค์เป็นนักเขียน-เป็นนักเลงเรื่องสั้น เป็นผู้ที่สามารถ
หยิบประเด็นเล็กๆ ในชีวิตแล้วใส่จินตนาการ ใส่สีสันและลีลาให้คมเข้มขึ้น จนกลายเป็นงานที่ทรงคุณค่า
นี่คือสิ่งเดียวที่ติดตัวเขามาจากเหมืองแร่-เป็นสิ่งเดียวที่มีความหมายยิ่งต่อชีวิตเขา และมีความหมายยิ่ง
กว่าบนโลกของวรรณกรรม ซึ่งนั่นหมายถึงคุณค่าต่อผู้อ่านและสังคมไทยอีกด้วย
๒๔๙๗ คือปีแรกที่เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ได้พบกับผู้อ่าน และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากนั้นลิ้นชักความทรงจำ
ของเหมืองแร่ก็ทยอยถูกเปิด แล้วดึงเรื่องราวต่างๆ ออกมาพบกับผู้อ่านอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งลาโรงในปี ๒๕๒๖
รวมทั้งสิ้นกว่า ๓๐ ปี ผลิตเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ออกมาทั้งสิ้น ๑๔๒ เรื่อง ซึ่งทั้งหมดก็รวมพิมพ์เป็นเล่มอยู่ในมือของ
ท่านในขณะนี้
เป็นเรื่องสั้นเหมืองแร่ล้วนๆ ที่หากจะเรียกให้เท่สักหน่อยตามที่ผู้เขียนได้บอกกับสำนักพิมพ์มติชนไว้ก็คือ
หนังสือเล่มนี้ควรจะเรียกสารานุกรมเหมืองแร่ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งไม่ได้เกินเลยแม้แต่น้อย เพราะนอกจากจะได้ความ
สนุกสนานจากเนื้อเรื่องแล้ว ยังมีสาระในกระบวนการขุดแร่อีกด้วย และที่สำคัญยังเห็นภาพชีวิตของคนพื้นถิ่น
ผ่านบทบรรยายและบทพูดอาจินต์ ปัญจพรรค์ถ่ายทอดวิญญาณของชนบทได้อย่างชัดเจน ดังคำประกาศเกียรติคุณ
จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ประกาศให้อาจินต์ ปัญจพรรค์เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔
อาจินต์ ปัญจพรรค์ถือเป็นนักเขียนคนเดียวของไทยที่เทียบได้กับนักเขียนระดับเวิลด์คลาสอย่าง ยาสุนาริ คาวาบา
ตะ, จอห์น สไตน์เบ็ก, แม็กซิม กอร์กี, กีย์ เดอ โมปัสซังต์ และแม้กระทั่งซัมเมอร์เซตมอห์ม เพราะเรื่องของอาจินต์
ปัญจพรรค์เป็นเรื่องที่กล่าวถึงและแสดงภาพชีวิตของกลุ่มคนระดับท้องถิ่น ทั้งยังมีเนื้อหาในแง่ปรัชญาอันเรียบง่าย
ของท้องถิ่น แต่ในทางกลับกันก็ซ้อนภาพแนวคิดสากลของมนุษยชาติ