ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740218111
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษปอนด์มูริม
จำนวนหน้า480 หน้า
น้ำหนัก600.00 กรัม
กว้าง14.30 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา2.30 ซม.
พิมพ์ครั้งที่2 : มีนาคม 2566
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

สายธารวรรณกรรมเพื่อชีวิตของไทย

ผู้เขียน : เสถียร จันทิมาธร

ใหม่

เมื่อ “ต้นธาร” แห่งกิจการทั้งปวงคือ “คน”, “สายธาร” ก็คือประวัติศาสตร์ของคนและความคิดที่ไหลรุดไป…

ศิลปะและวรรณกรรมไม่ใช่สิ่งอิสระเหนือชีวิตมนุษย์ ทว่าล้วนเกิดขึ้นและวิวัฒน์ไปตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม ตลอดเส้นทางอันยาวนานในการต่อสู้เพื่อสังคมที่เท่าเทียมของผู้คน สายธารของวรรณกรรมไทยจึงยังคงเคลื่อนไหว ท้าทายยุคสมัยและอำนาจเสมอมา

ในโมงยามที่การต่อสู้นั้นถึงภาวะบีบคั้นที่สุดจากแรงขับดันรอบข้าง ทั้งสังคมกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินาและการแทรกแซงของจักพรรดินิยม การคุกคามของเผด็จการ ภาวะสับสนในยุคแสวงหา กลับเป็นช่วงเวลาที่โลกวรรณกรรมไทยเข้มข้นและมีชีวิตชีวาที่สุดยุคหนึ่ง สายธารวรรณกรรมเพื่อชีวิตของไทย โดยเสถียร จันทิมาธร ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525 คืองานค้นคว้าที่รวบรวมเรื่องราวและฉายภาพความเคลื่อนไหวในกระแสธารของโลกตัวอักษรไทย นับตั้งแต่วรรณคดีโบราณจนถึงวรรณกรรมสมัยใหม่ โดยเฉพาะวรรณกรรมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 รวมถึงการคลี่คลายขยายตัวของวรรณกรรมเพื่อชีวิตที่แตกหน่อต่อยอดออกมาในช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดของประชาธิปไตยไทย



  • กำเนิดและการคลี่คลายของศิลปวรรณกรรม
  • วรรณคดียุคคลาสสิกของไทย
  • รุ่งอรุณของวรรณกรรมยุคกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา
  • เทียนวรรณ บุรุษรัตน์ของสามัญชน
  • “หน่อ” ของจินตนิยมในวรรณกรรมไทย
  • ศรีบูรพา จอมทัพผู้ยิ่งใหญ่แห่งวรรณกรรมไทย
  • วรรณกรรมหลังปี 2475
  • ภาคผนวก บันทึกของ “อินทรายุธ” เกี่ยวกับรุ่นของอิศรา อมันตกุล
  • ภาคผนวก บันทึกของ “อินทรายุธ” เกี่ยวกับจำกัด พลางกูร และ น.ส.พ. เอกชน
  • ภาคผนวก บันทึกของ “บรรจง บรรเจิดศิลป์” เกี่ยวกับความคิดก่อนการเคลื่อนไหว วรรณกรรมก้าวหน้า
  • วรรณกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
  • ขบวนการ “ศิลปเพื่อชีวิต” ยุคแรก
  • การต่อสู้ของวรรณกรรมก้าวหน้า
  • วรรณกรรมใน “ยุคมืด” ทางพุทธิปัญญา
  • วรรณกรรมในยุค “แสวงหา” ของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่
  • วรรณกรรมยุค 14 ตุลาคม 2516
  • จิตร ภูมิศักดิ์ นักรบของคนรุ่นใหม่
  • ทิศทางและการต่อสู้ต่อไปของวรรณกรรมไทย
คำตาม ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์

รูปอื่นๆ