ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740218036
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษจริงใจ
จำนวนหน้า352 หน้า
น้ำหนัก455.00 กรัม
กว้าง145.00 ซม.
สูง210.00 ซม.
หนา2.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่3 : กุมภาพันธ์ 2566
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

รัฐสยดสยอง

ผู้เขียน : ภัทรนิษฐ์ สุรรังสรรค์

ใหม่

ทดลองอ่าน: https://bit.ly/3yiY2Sq

ภายใต้ภาพความศิวิไลซ์ที่ดูเจริญงดงาม "ความสยดสยอง" ได้ถูกเก็บซ่อนอำพรางไว้

.

เมื่อกระแสลมแห่งความศิวิไลซ์จากตะวันตกพัดพาเข้าสู่สยาม ชนชั้นนำได้พยายามปรับเปลี่ยนสภาพบ้านเมืองให้ไร้ซึ่งกลิ่นอายความเป็นอนารยะ สู่ราชอาณาจักรที่มีความเป็นอารยะในสายตาของผู้มาเยือน หนึ่งในภารกิจสำคัญที่ต้องเร่งทำคือ การกำจัด "ความสยดสยอง" ให้ปลอดพ้นไปจากพื้นที่สาธารณะ ปัดกวาดซุกซ่อนความอุจาดไว้ในพื้นที่ลับจากสายตาผู้คน

.

"รัฐสยดสยอง" ผลงานของภัทรนิษฐ์ สุรรังสรรค์ ได้เผยกลไกการสร้าง "ระบอบความสยดสยอง" (regime of horror) ของรัฐสยาม ที่ใช้ความสะพรึงกลัวเป็นเครื่องมือควบคุมราษฎรให้อยู่ใต้อาณัติ มิให้มาสร้างรอยมลทินแก่รัฐอันศิวิไลซ์ ทั้งการจัดการซากศพ ความโสโครก โรคระบาด รวมถึงการลงทัณฑ์ทรมาน

.

บางทีความสยดสยองที่ดำรงอยู่ อาจไม่น่ากลัวเท่ากลไกการจัดการความสยดสยองที่กระทำในนามความศิวิไลซ์


๑ ความสยดสยอง ในฐานะระบอบแห่งอารมณ์

  • ว่าด้วยระบอบความสยดสยอง
  • ว่าด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์อารมณ์

๒ ความสยดสยองในยุคจารีตของสังคมไทย

  • ความสยดสยองในกฎหมายตราสามดวง และไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา
  • การเสียเกียรติยศพระนครในรัชสมัยพระจอมเกล้าฯ
  • ราชกิจจานุเบกษากับการบันทึกความสยดสยอง ในต้นรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าฯ

๓ “ขุนกะเฬวราก”ผู้จัดการความสยดสยองจากซากศพ

  • การควบคุมซากศพโดยชนชั้นนำสยามยุคจารีต
  • ซากศพและความโสโครก: ปฏิปักษ์ต่อความศิวิไลซ์ ในยุคแห่งการปฏิรูป
  • การกำจัดความรู้สึกอุจาดผ่าน“ขุนกะเฬวราก”

๔ “กองตระเวนและกรมสุขาภิบาล” ผู้จัดการความสยดสยอง บนพื้นที่สาธารณะ

  • ความโสโครกในพระนคร: เว็จคูถ มูตร ซากสัตว์ และกลิ่นเน่าที่ทำลายความสำราญของมหาชน
  • กรมสุขาภิบาล: การกำจัดของโสโครกและความรู้สึกรังเกียจ

๕ “โรงพยาบาล” ผู้จัดการความสยดสยอง จากความโสโครกและโรคภัย

  • ความสยดสยองที่มาพร้อมกับโรคระบาด ในสยามยุคจารีต
  • “จะให้มีโรงพยาบาลขึ้นในบ้านเมือง สมเป็นประเทศที่รุ่งเรือง”: สถาบันแห่งความอารยะด้านสุขภาวะ
  • ความรู้สึกสะพรึงกลัวภายใต้เงื้อมมือของโรงพยาบาล

๖ “สนามสถิตยุติธรรมสยาม”ผู้ควบคุมความสยดสยอง จากการทรมานร่างกาย

  • ความสยดสยองกับการลงทัณฑ์ในสยาม ช่วงต้นรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าฯ
  • “ความกรุณา”และ “ความปรานี”: การกำจัดความสยดสยองจากการทรมานเรือนร่าง
  • ความสยดสยองภายใต้เงื้อมมือ ของสนามสถิตยุติธรรมสยาม: การป้องกันความรู้สึกหวาดกลัวของราษฎร และการปราบปรามกบฏของแผ่นดิน

๗ ระบอบความสยดสยองในรัฐสยามยุคใหม่


รูปอื่นๆ