ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740217589
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกรีนรีด
จำนวนหน้า280 หน้า
น้ำหนัก365.00 กรัม
กว้าง14.50 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา10.50 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 2 : พฤศจิกายน 2564
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

ภารตะ-สยาม ศาสนาต้อง (ไม่) ห้ามเรื่องการเมือง

ผู้เขียน : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง

ใหม่


"...ศาสนาในสังคมไทยเป็นการเมืองเสียยิ่งกว่าการเมือง อีนุงตุงนังกับชีวิตใกล้ตัวเราอย่างแยกไม่ออก... ศาสนาไม่ใสๆ อย่างที่เราคิด ไม่เพียว ไม่แท้ ไม่ได้มุ่งสู่การหลุดพ้นอะไรเลย แต่ 'การเมือง' ที่บ่อยครั้งศาสนาและศาสนิกชนปฏิเสธที่จะเข้าไปสัมพันธ์ด้วย กลับมีอิทธิพลต่อศาสนาอย่างยิ่งยวด ศาสนาไทยเป็นการเมืองที่สุด ฝักใฝ่อำนาจที่สุด ฉ้อฉลตรวจสอบไม่ได้ที่สุด และกำลังนำพาตัวมันเองและประเทศไปสู่หายนะอย่างร้ายแรงที่สุด...

.

...หนังสือเล่มนี้นำเสนอมุมมองต่อประเด็นศาสนากับการเมืองด้วยท่าทีสนใจใคร่รู้ ชวนตั้งคำถามต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในฐานะปรากฏการณ์ที่เราสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมและทำความเข้าใจ อย่างน้อยก็ในระดับจิตสำนึก ในทางตะวันตกเรียกสิ่งนี้ว่า political awareness หรือการตระหนักรู้ทางการเมือง..." --- จากคำนิยมของ วิจักขณ์ พานิช

.

ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการเมือง มักถูกมองว่าไม่เกี่ยวข้องกันเสมอมา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว หากนิยามว่าการเมืองคือ "อำนาจนานาชนิดในการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร" แล้ว ศาสนาเองก็ไม่อาจปลอดพ้นไปจากการเมืองได้ ลำดับชั้นวรรณะและอำนาจต่างๆ ที่แฝงฝังซ่อนเร้นอยูในวงการศาสนา ต่างก็เป็นสิ่งยืนยันความเป็นการเมืองในศาสนาเอง

.

ภาระต-สยาม ศาสนาต้อง (ไม่) ห้ามเรื่องการเมือง? ชวนผู้อ่านร่วมเปิดมุมมองใหม่ต่อเรื่องศาสนากับการเมือง ทั้งเรื่องราวพุทธ พราหมณ์ ไสยศาสตร์ จนถึงข้อเสนอปฏิรูปศาสนาไปพร้อมกับการเมือง ด้วยความมุ่งหวังที่ต้องการเห็นศาสนาดำรงอยู่ต่อไปในโลกสมัยใหม่

.

ร่วมหาทางออกไปด้วยกันในอีกไม่ช้า...