ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740217459
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกรีนรีด
จำนวนหน้า280 หน้า
น้ำหนัก370.00 กรัม
กว้าง14.00 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา2.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 1 : มิถุนายน 2564
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

กองทัพคณะราษฎร

ผู้เขียน : ปรัชญากรณ์ ลครพล

ใหม่



“ในชั่วเวลา 150 ปีที่แล้วมา การทหารเกือบจะกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรเปนชิ้นเปนอันเลย นอกจากมีปืนเล็ก ปืนกลสัก 2-3 ร้อยกระบอก มีเครื่องบินที่ปราศจากอาวุธทำลายล้างทางอากาศอยู่เล็กน้อย มีเรือรบที่เก่าพ้นสมัยอยู่ 4-5 ลำเท่านั้น

ในชั่วเวลา 2 ปีที่รัฐธรรมนูญได้จัดระบอบการปกครองใหม่ ท่านคงจะเห็นได้แล้วว่าโฉมหน้าของการทหารได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร...”

พันเอก หลวงพิบูลสงคราม, 2477

หลังการปฏิวัติสยาม 2475 ระบอบการปกครองใหม่มีสถานะไม่มั่นคง พร้อมจะถูกสั่นคลอนจากกลุ่มอำนาจเก่าอยู่ตลอดเวลา ทำให้คณะราษฎรต้องเร่งหานโยบายสร้างความมั่นคงทางการเมือง ภารกิจการปฏิวัติ "กองทัพพระมหากษัตริย์" ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ "กองทัพคณะราษฎร" ในระบอบประชาธิปไตยจึงเริ่มขึ้น ชนชั้นเจ้าที่เคยอยู่ในโครงสร้างส่วนบนของกองทัพถูกขจัดออกไป แทนที่ด้วยผู้นำกองทัพใหม่จากคณะราษฎร

"กองทัพคณะราษฎร" ผลงานของปรัชญากรณ์ ลครพล ฉายภาพการสร้างประชาธิปไตยสมัยคณะราษฎร ที่มิอาจลงหลักปักฐานได้เพียงเพราะปฏิบัติการย่ำรุ่ง 24 มิถุนายน 2475 เท่านั้น ทว่าโครงสร้างกองทัพแบบใหม่ คือ กลไกสำคัญที่ล้อมรั้วประชาธิปไตยให้อยู่รอดท่ามกลางสมรภูมิทางการเมืองและการสงคราม

สารบัญ

๑ การกำเนิดขึ้นของกองทัพสมัยใหม่ในสยามประเทศ

๒ “กองทัพคณะราษฎร” ฐานอำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรเมื่อแรกปฏิวัติ

  • การปรับปรุง “กองทัพพระมหากษัตริย์” ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
  • ปฏิวัติ “กองทัพพระมหากษัตริย์” เพื่อสร้าง “กองทัพคณะราษฎร”
  • การรวบอำนาจเบ็ดเสร็จในกองทัพของผู้นำคณะราษฎร

๓ “กองทัพรัฐบาลคณะราษฎร” ยุคแห่งการขยายอำนาจทางการทหาร

  • จากกองทัพคณะราษฎรสู่ “กองทัพประชาชาติ”
  • สร้างกองทัพให้พร้อมรบ

๔ “กองทัพประชาชาติ” กับบททดสอบของสงคราม

  • การปรับปรุงกองทัพก่อนสงครามพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส
  • การจัดกำลังรบในสงครามพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส
  • การจัดกำลังรบในมหาสงครามเอเชียบูรพา