
คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้
สินค้า | ราคา | จำนวน | ราคารวม | |
---|---|---|---|---|
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้ |
ISBN | 9786165620130 |
---|---|
ปกหนังสือ | อ่อน |
จำนวนหน้า | 272 หน้า |
น้ำหนัก | 335.00 กรัม |
กว้าง | 13.50 ซม. |
สูง | 21.00 ซม. |
หนา | 1.80 ซม. |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์สมมติ |
ว่าด้วยการท่องเที่ยวในฐานะมรดกแห่งการสร้างชาติของรัฐไทย จากรัฐจารีต สงครามเวียดนาม สู่ยุครัฐประหาร 2549
แม้เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้จะจบลงที่รัฐประหาร 2549 แต่ประเด็นสำคัญของผู้เขียนคือ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของการท่องเที่ยวที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยผ่านสถานภาพของชนชั้นในสังคม อำนาจเป็นตัวกำหนดความสามารถในการเดินทางและเข้าถึงสถานที่ต่างๆ หรือเรียกได้ว่า ยิ่งมีอำนาจเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ไกลและทั่วถึงเท่านั้น
- บางส่วนจาก บทกล่าวนำ
ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ
การที่รัฐเร่งสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างถนนและสถานที่ราชการ เพื่อเข้าไปควบคุมความมั่นคงในเขตพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการให้นโยบายจิตวิทยาเอาใจประชาชนที่เคยถูกกดขี่มาตลอด กลไกสำคัญก็คือหน่วยราชการที่ทำหน้าที่บังคับบัญชาการควบคุมในระดับภาค ... มีการแนะนำให้รู้จักและท่องเที่ยวต่างจังหวัดๆ รวมไปถึงแนวโน้มที่จะชูแหล่งท่องเที่ยวที่เข้ากับโครงเรื่องทางประวัติศาสตร์แบบอนุรักษนิยมในยุคนี้ การท่องเที่ยวจึงอยู่ภายใต้บริบททางการเมืองอย่างเข้มข้น
- บางส่วนจาก บทที่ 4 รายได้จากสงคราม และการกลายเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว