ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740217091
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกรีนรีด
จำนวนหน้า336 หน้า
น้ำหนัก480.00 กรัม
กว้าง14.50 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา2.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 2 : กรกฏาคม 2563
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

When We Vote: พลวัตการเลือกตั้งและประชาธิปไตยในอาเซียน

ผู้เขียน : ประจักษ์ ก้องกีรติ

ใหม่

“ปราศจากการเรียนรู้จากสังคมอื่น ก็ยากที่เราจะเข้าใจประเทศของตนเองอย่างถ่องแท้ และหากปราศจากการย้อนกลับไปมองที่มาที่ไปในอดีต ก็ยากที่เราจะเข้าใจสภาพปัญหาทางการเมืองในปัจจุบัน”

ขณะที่การเมืองการเลือกตั้งของไทยก้าวถอยหลังและชะงักงันเพราะการครองอำนาจของเผด็จการ การเมืองการเลือกตั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สามประเทศที่น่าจับตามองที่สุดในอุษาคเนย์กลับเปลี่ยนแปลงอย่างสูงในเงื่อนไขที่ต่างกัน ราวกับจะยืนยันให้เห็นความเป็นไปได้และคลื่นของความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ทำให้การเลือกตั้งมิได้หยุดนิ่งและถูกผูกขาดโดยชนชั้นนำกลุ่มเดิมจำนวนน้อยอีกต่อไป

ร่วมวงสนทนากับแนวทางการศึกษาแบบสถาบันนิยม ทฤษฎีการสร้างประชาธิปไตย การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ตามเข้าไปสำรวจความเป็นจริงในพื้นที่ ฟังข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ยื่นหน้าไปดูตัวเลขสถิติ และกลับเข้าสู่การถกเถียงถึงโอกาส ความหวัง ความฝัน และ ความจริงจากการศึกษาเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเลือกตั้งในประเทศเพื่อนบ้าน ย้อนกลับมาเปรียบเทียบและทบทวนสถาณการณ์การเมืองการเลือกตั้งของไทย–ประเทศซึ่งตั้งไข่และล้มลุกคลุกคลานมากว่า 88 ปี ในการสร้างกระบวนการเลือกตั้งที่มีคุณภาพและประชาธิปไตยที่ยั่งยืน

0 1 สัญญาณแห่งความเปลี่ยนแปลง: การเลือกตั้ง และประชาธิปไตยในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย

  • คลื่นของความเปลี่ยนแปลง
  • แนวคิดการพัฒนาประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้ง

0 2 มาเลเซีย: การเมืองชาติพันธุ์และศาสนา แนวร่วมภาคประชาสังคมกับฝ่ายค้าน และการสิ้นสุดของระบบพรรคเดียวครอบงำ

  • บริบททางประวัติศาสตร์ระบบเลือกตั้งและระบบพรรคการเมือง
  • การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13 ในมาเลเซีย
  • นโยบายและแนวทางการหาเสียง : การอุปถัมภ์ และธนกิจการเมือง
  • การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบไม่ยุติธรรม (Gerrymandering) และการกระจายผู้ลงคะแนนระหว่างเขตเลือกตั้งต่างๆ อย่างไม่เสมอกัน (Malapportionment)
  • ปัจจัยทางเชื้อชาติและความเป็นเมือง/ชนบท
  • บทบาทของสื่อและโลกออนไลน์
  • สรุปการเลือกตั้งมาเลเซียปี ค.ศ. 2013 : สัญญาณของความเปลี่ยนแปลง
  • การเลือกตั้งทั่วไปปี ค.ศ. 2018: ความพ่ายแพ้ของพรรค UMNO และการเมืองแบบพรรคเดียวครอบงำ

0 3 อินโดนีเซีย: การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ระบบหลายพรรคที่มีเสถียรภาพและฉันทามติทางการเมือง

  • บริบทและกรอบเชิงสถาบัน
  • ระบบพรรคการเมืองอินโดนีเซียกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
  • การเมืองแบบอุปถัมภ์และอิทธิพลของธนกิจการเมือง (money politics)
  • การเลือกตั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาอินโดนีเซียปี ค.ศ. 2014: บริบทแวดล้อม
  • การเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียปี ค.ศ. 2014: การก้าวขึ้นมาของโจโกวี และปรากฏการณ์ “ประชานิยมแบบปฏิบัตินิยม”
  • การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติอินโดนีเซียปี ค.ศ. 2014: ความนิยมส่วนบุคคลระบบอุปถัมภ์และระบบหัวคะแนน
  • การเลือกตั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาอินโดนีเซียปี ค.ศ. 2019: การแบ่งแยกแตกขั้วศาสนาและความท้าทายของประชาธิปไตย

0 4 ฟิลิปปินส์: ประชาธิปไตยแบบอุปถัมภ์ ตระกูลการเมือง และประชานิยมแบบอำนาจนิยม

  • บริบททางประวัติศาสตร์และระบบพรรคการเมืองหลังยุคประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส (ปี ค.ศ.1986-ปัจจุบัน)
  • ระบบอุปถัมภ์เครือข่ายการเมืองส่วนบุคคลและตระกูลการเมือง
  • การต่อสู้ระหว่างกระแส “ปฏิรูปนิยม” กับกระแส “ประชานิยม”
  • การเลือกตั้งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ปี ค.ศ.2016: ปรากฏการณ์ประชานิยมแบบอำนาจนิยมของดูแตร์เต

0 5 ไทย : การแบ่งขั้วรุนแรง การต่อต้าน-ตัดตอน การเลือกตั้ง และประชาธิปไตยถดถอย

  • การเมืองเรื่องการเลือกตั้งจากรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2540 ถึงการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554
  • นวัตกรรมและความเปลี่ยนแปลงในการเลือกตั้งของไทยหลังปี พ.ศ. 2540
  • ระบบ 2 พรรคใหญ่ ภูมิภาคนิยมและการถดถอย ของการเมืองแบบอิทธิพลอุปถัมภ์
  • การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2557: การขัดขวางการเลือกตั้งความรุนแรง และการรัฐประหาร
  • การเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562: การเลือกตั้งภายใต้ระบอบรัฐประหารและการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบอำนาจนิยมจากการเลือกตั้ง
  • การเมืองของการออกแบบระบบเลือกตั้งและการควบคุมบงการการเลือกตั้ง
  • การเมืองของชนชั้นนำและการต่อสู้ทางอุดมการณ์
  • การแข่งขันของพรรคการเมืองและพฤติกรรมผู้เลือกตั้งการแบ่งขั้ว โซเชียลมีเดีย และคนรุ่นใหม่
  • อนาคตการเมืองไทยหลังการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562

0 6 แลไปข้างหน้า: ก้าวใหม่ของประชาธิปไตยในอาเซียน

  • ระบบพรรคการเมือง ระบบเลือกตั้ง และการจัดการเลือกตั้ง
  • ธนกิจการเมืองและระบบอุปถัมภ์
  • การแบ่งแยกทางสังคม
  • บทบาทของสื่อ
  • บทเรียนสำหรับสังคมไทย