เมื่อครั้งกระโน้น ฝรั่งชาติโปรตุเกส ชาติสเปน อาจเคยโล้สำเภา ลุยฝ่าป่าดงในเอเชียเพื่อแสวงหาเพียงเมล็ดอ่อนของต้นพริกไทย หรือเร่ขายปืนไฟไม่กี่กระบอกให้ชาวเอเชีย แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป สงครามในยุโรป ความคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจ และความเจริญของระบบอุตสาหกรรม ได้ผลักดันฝรั่งมองมายังเอเชียด้วยสายตาแบบใหม่
ฝรั่งในปลายศตวรรษที่ 19 ทั้งชาติอังกฤษ ชาติฝรั่งเศส มิใช่ฝรั่งโล้เรือสำเภา แต่เป็นฝรั่งโล้เรือปืน มิใช่ฝรั่งฝ่าป่าดงเพื่อหาเครื่องเทศ แต่เป็นฝรั่งหาเมืองขึ้น
การมาของฝรั่งหน้าใหม่ในศตวรรษที่ 19 สั่นสะเทือนอำนาจ โลกทัศน์ และการปกครองของพระมหากษัตริย์สยามเป็นอย่างมาก เพราะแต่นี้ต่อไป สยามรัฐจะมิได้เผชิญหน้ากับศัตรูคู่แค้นเช่น พม่า, ญวน แต่เป็นมหาอำนาจเจ้าจักรวรรดินิยมแห่งทวีปยุโรปผู้หิวกระหายอาณานิคม
สยามรัฐท่ามกลางจักรวรรดินิยม ผลงานเล่มล่าสุดของ ไกรฤกษ์ นานา นักประวัติศาสตร์ผู้ชื่นชอบและหลงใหลในการค้นคว้าหลักฐานเก่า จะตีแผ่แผนการและเปิดเผยเบื้องลึก-เบื้องหลังของหัวขโมยในคาบนักสำรวจ ผู้อยู่เบื้องหลังแผนการเขมือบดินแดนเอเชียของจักรวรรดินิยมยุโรป รวมถึงทำความเข้าใจใหม่เรื่องการเสียดินแดนของสยามว่า แท้จริงแล้ว ฝรั่งเฉือนดินแดนของสยามไปทำไม? สยามรู้จักดินแดนของตัวเองแค่ไหน? และสยามเสียดินแดนจริงหรือไม่?
รวมค้นหาคำตอบที่น่าค้นหาในหน้าประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของสยามได้ใน สยามรัฐท่ามกลางจักรวรรดินิยม

บทเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : สถานะและทารอดของสยามประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕
ภาคที่ ๑ นักสำรวจหรือหัวขโมย? และดินแดนเขมรเป็นของใคร?
- นักสำรวจฝรั่งเศสยุครัชกาลที่ ๕ ผู้ขนย้ายสมบัตินครวัด แจง “ไม่ได้ขโมย” แต่ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้” (ตอนที่ ๑)
- นักสำรวจฝรั่งเศสยุครัชากรลที่ ๕ ผู้ขนย้ายสมบัตินครวัด แจง “ไม่ได้ขโมย” แต่ “ยืมเอาไปโชว์ที่ปารีส” (ตอนจบ)
ภาคที่ ๒ แผ่นดินของใคร? :แผนที่ราชสมาคมภูมิศาสตร์ฯ และการค้นพบแชงกรี-ลา
- แผ่นดินของใคร? (๑) รัฐสุวรรณภูมิตามทัศนะฝรั่ง
- แผ่นดินของใคร? (๒) เบื้องหลังแผนที่กรุงสยามฉบับแรก จากฐานข้อมูลที่มิใช่ของคนไทย
- แผ่นดินของใคร? (๓) รัชกาลที่ ๕ ทรงชิงชังแผนที่ส่งเดชของฝรั่งเศส
- แผ่นดินของใคร? (๔) “ราชสมาคมภูมิศาสตร์ฯ” แผนยุทธศาสตร์สูตรสำเร็จของนักจักรวรรดินิยม
- แผ่นดินของใคร? (๕) “ตามหาแขงกรี-ล่า” เป้าหมายสุดท้ายของนักล่าเมืองขึ้น
ภาคที่ ๓ Mega Projectเส้นทางรถไฟไทยไปจีน ที่หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์
- เส้นทางรถไฟ “สายนิรนาม” ของสยามรัฐที่ไม่อยู่ในประวัติรถไฟไทย