
คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้
สินค้า | ราคา | จำนวน | ราคารวม | |
---|---|---|---|---|
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้ |
ISBN | 9789740216544 |
---|---|
ปกหนังสือ | ปกอ่อน |
กระดาษ | กรีนรีด 65 g. |
จำนวนหน้า | 184 หน้า |
น้ำหนัก | 350.00 กรัม |
กว้าง | 14.50 ซม. |
สูง | 21.00 ซม. |
หนา | 1.00 ซม. |
พิมพ์ครั้งที่ | พิมพ์ครั้งที่ 1 : มีนาคม 2562 |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์มติชน |
กำเนิดมานุษยวิทยาไทยในยุคสงครามเย็น
หนังสือเล่มนี้เป็นงานศึกษาเกี่ยวกับกำเนิดและลักษณะของวิชามานุษยวิทยาไทย
และสาขาวิชาไทยศึกษา (Thai Studies) ในยุคแรกเริ่มช่วงทศวรรษ 1950 และ 1970 ซึ่งเป็น 2 ทศวรรษแรกของสงครามเย็น (Cold War) คำถามสำคัญของหนังสือเล่มนี้คือ หมู่บ้านชนบทไทยกลายเป็นหน่วยของการวิเคราะห์และหน่วยของการพัฒนาในสายตาของรัฐและนักมานุษยวิทยาไทยได้เมื่อไรและอย่างไร ?
เพื่อที่จะตอบคำถามดังกล่าว ผู้เขียนจึงจัดวางกรอบในการวิเคราะห์ให้อยู่ในชุดความรู้ที่เรียกว่า “สังคมวิทยาความรู้” หรือ Sociology of Knowledge ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับเงื่อนไขเชิงโครงสร้างและบริบทของความเปลี่ยนแปลงทางสังคม รวมถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจในช่วงเวลาหนึ่งๆ ที่กำหนดกระบวนการสร้างความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
เป้าหมายของหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่การปฏิเสธ
หรือต้องการผลักไสมรดกทั้งหมดของอาณานิคม
หรือจักรวรรดินิยมอเมริกัน
แต่มุ่งไปที่การวิพากษ์และเปิดเผยให้เห็นลักษณะของความรู้
ทางมนุษยวิทยาของไทยยุคบุกเบิกที่ไม่อาจแยกขาดจากสงครามเย็น
ทั้งในฐานะบริบททางประวัติศาสตร์
และในฐานะโลกทัศน์ทางสังคมการเมือง...