
คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้
สินค้า | ราคา | จำนวน | ราคารวม | |
---|---|---|---|---|
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้ |
ISBN | 978-974-02-1105-1 |
---|---|
ปกหนังสือ | อ่อน |
กระดาษ | กระดาษกรีนรีด |
จำนวนหน้า | 328 หน้า |
น้ำหนัก | 380.00 กรัม |
กว้าง | 14.20 ซม. |
สูง | 21.20 ซม. |
หนา | 1.50 ซม. |
พิมพ์ครั้งที่ | พิมพ์ครั้งแรก ; สำนักพิมพ์มติชน, มีนาคม 2556 |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์มติชน |
แนะนำแหล่งท่องเที่ยว 8 มรดกโลก นครวัด-นครธม หลวงพระบาง พราหมณัน บรมพุทโธ บาหลี ปราสาทวัดพู ฮอยอัน เว้ และมหาบูชาสถานสำคัญแห่งอาเซียน อาทิ ชเวดากอง พระธาตุอินทร์แขวน ธาตุหลวงเวียงจันทน์ พระมหามัยมุนี เจดีย์เทียนหมุ สุสานจักรพรรดิเว้ ฯลฯ
ในฐานะสื่อมวลชนสายงานสารคดี ผู้เขียนมีโอกาสไปสัมผัสวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมในประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มอินโดจีน คือ เวียดนาม ลาว กัมพูชา เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี เป็นต้นมา ส่วนใหญ่เป็นภาพสะท้อนอาการตื่นตะลึงของคนที่แทบไม่รู้จักเพื่อนบ้านของตนเอง และแทบไม่เชื่อว่า ดินแดนที่มีการสู้รับกันดุเดือดเลือดพล่านอย่างอินโดจีนจะเต็มไปด้วยร่องรอยอารยธรรมโบราณอันชวนอึ้ง อย่างมหาปราสาทนครวัด เปี่ยมด้วยสีสันวัฒนธรรมทรงเสน่ห์ อย่างเว้ หลวงพระบาง และดารดาษด้วยหมู่เจดีย์จากแรงศรัทธามหาศาลนับพันๆ องค์อย่างพุกาม
ทว่า เสร็จสิ้นงานสารคดีแล้ว การเดินทางของผู้เขียนนั้นยังไม่จบ จวบจนวันนี้ ผู้เขียนยังมีโอกาสเดินทางเข้า-ออกประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนเป็นระยะๆ ทั้งในฐานะนักเขียนสารคดีและช่างภาพอิสระ และวิทยากรผู้ให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แต่ก็ด้วย “อารมณ์” ที่แตกต่างจากการไปในยุคแรก จึงได้สัมผัสความเปลี่ยนแปลงในประเทศเพื่อนบ้านเป็นระยะๆ และนำประเด็นความเปลี่ยนแปลงมานำเสนอเป็นบทความสารคดี ตีพิมพ์ในนิตยสาร และหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ตลอดจนนำเสนอเป็นรายงานพิเศษในรายการวิทยุอุษาคเนย์ ทางคลื่นความคิด Fm 96.5 อสมท.
ครั้นเมื่อเกิดโครงการคัดสรรบทความสารคดีที่กระจัดกระจายในหลายสื่อดังกล่าวมารวมเป็นเล่มที่อยู่ในมือท่านเวลานี้ จึงตั้งชื่อหนังสือว่า “มนตราอาเซียน” เพื่อสะท้อนความจริงคือ ไม่ว่าอาเซียนจะเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีและเข็มนาฬิกาสักเพียงใด แต่รากของสังคมผสมผสาน และจิตวิญญาณแห่งพหุวัฒนธรรมที่หยั่งลึก ทำให้อาเซียนยังทรงเสน่ห์ ดั่งมีมนตรามัดตรึงใจผู้ไปเยือนไม่เสื่อมคลาย
เพราะนอกจากเนื้อหาจะเล่าเรื่องปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวอาเซียนหลายแห่งแล้ว ยังทำให้เราตระหนักได้ว่า การสัญจรรอนแรมไปในอาเซียน ทำให้มองเห็นความแตกต่างหลากหลาย ทั้งวัฒนธรรมการแต่งกาย การนับถือศาสนา ภาษา และอาหารการกิน ซึ่งมาตรฐานความสวย ความงาม ความอร่อย มิได้มีมาตรฐานเดียว...อย่างที่เราเคยเข้าใจ
การเรียนรู้ท่ามกลางการเดินทาง เปิดประตูใจให้ยอมรับความแตกต่างของชาวอาเซียน กระทั่งยอมรับว่า เราสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้ หากเคารพในความ “ไม่เหมือน” กันและกัน ซึ่งวันนี้คือหัวใจสำคัญองการสถาปนา “ประชาคมอาเซียน” ภายใต้คำขวัญ “Unity on Diversity”...เอกภาพบนความแตกต่างและหลากหลาย
นี่คือสาระสำคัญที่สุด ที่ผู้เขียนปรารถนาจะนำเสนอผ่านหนังสือเล่มนี้