ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740217473
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกรีนรีด
จำนวนหน้า440 หน้า
น้ำหนัก540.00 กรัม
กว้าง14.00 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา2.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 1 : มิถุนายน 2564
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

๒๔๗๕ ราษฎรพลิกแผ่นดิน

ผู้เขียน : นริศ จรัสจรรยาวงศ์

ใหม่

"ขณะที่พวกประกอบอาชีพราชการยังนอนงัวเงียอยู่บนที่นอน และขณะที่พวกเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่และนายพานิชเศรษฐีกำลังหลับอย่างแสนสุขบนที่นอนอันสูงและอ่อนนุ่มนั้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอันใหญ่หลวงก็ได้ตื่นขึ้นเหมือนกัน" ศรีบูรพา, บทบรรยายย่ำรุ่งวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ใน แลไปข้างหน้า ภาคมัชฌิมวัย

24 มิถุนายน 2475 ประชาธิปไตยไทยถูกปลุกให้ตื่นขึ้นจากหลับใหลโดย "คณะราษฎร" กลุ่มคนรุ่นใหม่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มองเห็นความเสื่อมโทรมของรัฐบาลในหลวง ร.7 จึงรวมกำลังกันเปลี่ยนแปลงปกครองให้กษัตริย์สยามอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

๒๔๗๕ ราษฎรพลิกแผ่นดิน คือ การนำเสนอคณะราษฎรในมิติที่มีชีวิตชีวา ให้หลักฐานที่เป็นอนุสรณ์งานศพ บันทึกร่วมสมัยเป็นผู้เล่าเรื่อง โดยจะพาผู้อ่านย้อนกลับไปร่วมเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่การก่อตั้งรวบรวมสมัครพรรคพวกของคณะราษฎร การวางแผนและยึดอำนาจ ตราบจนกระทั่งอวสานคณะราษฎร และเจาะลึกเหตุการณ์ต่างๆ ให้ได้เห็นเกร็ดเล็กมุมน้อยต่างๆ ของคณะราษฎรที่ละเอียดยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์หลวงศุภชลาศัยสั่งเรือหลวงสุโขทัยเตรียมยิงถล่มวังไกลกังวล, กลุ่มมุสลิมีนที่ร่วมก่อการในวันที่ 24 มิถุนายน 2475, การหลอมนิกาย รวมธรรมยุติกนิกายและมหานิกายในสมัยคณะราษฎร, ฐานข้อมูลอนุสรณ์งานศพคณะราษฎร และ ฯลฯ

คณะราษฎรและประชาธิปไตยไทย ยังคงมีแง่มุมอีกมากมายให้ผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้ากันต่อไป แต่สิ่งหนึ่งที่ "คณะราษฎร" ในฐานะวัตถุศึกษาเป็นและเป็นตลอดมา คือ ความสามัญธรรมดา ดังที่หลวงสฤษดิ์ยุทธศิลป์ สมาชิกคณะราษฎรได้กลาวไว้ว่า

"พวก ๒๔ มิถุนายน ๗๕ หรือคณะราษฎร ก็เป็นปุถุชนธรรมดา ย่อมมีดีมีชั่วมีผิดมีถูก แม้แต่เทวดาก็ยังมีที่ดีและมีที่เป็นอันธพาล"

สารบัญ

สุนทรพจน์ของนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา

บัพพ์ที่ ๑
“คณะราษฏร”
กำเนิด ก่อการ อวสาน

บัพพ์ที่ ๒
ข้างหลังภาพประวัติศาสตร์
“คณะราษฏร” ณ กรุงปารีส

บัพพ์ที่ ๓
๓+๑ มุสลิมีน คณราษฏรผู้ก่อการปฏิวัติ
คณะราษฏรผู้ก่อการปฏิวัติ
๒๔ มิ.ย.๒๕๗๕

บัพพ์ที่ ๔
อนุสรณ์งานศพ
สมาชิกคณะราฏร

บัพพ์ที่ ๕
“หลอมนิกาย”
มหาสังฆกรรมคณะราษฏร
อุปสมบทพระยาพหลฯ พ.ศ. ๒๔๘๔

บัพพ์ที่ ๖
นระ ๒๔๗๙ ลาเวที
ทิ้งชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
ดวงหน้าสุดท้ายและอนุสาวรีย์
๓ ผู้นำคณะราฏร